What's C-TPAT?

Last updated: 30 พ.ค. 2559  |  17802 จำนวนผู้เข้าชม  | 

What's C-TPAT?

 C-TPAT คืออะไร?

          หลายคนคงได้ยินคำว่า C-TPAT มาบ้างแล้วแต่ก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่าคืออะไร มาตรฐาน หรือโปรแกรมเฉพาะที่สร้างขึ้นมา จริงๆแล้ว C-TPAT ย่อมมาจากคำว่า Customs-Trade Partnership Against Terrorism เป็นโปรแกรม (ที่มีกรอบการสร้างมาจากมาตรฐาน ISO 28000) ที่ประเทศสหรัฐอเมริการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการก่อการร้ายตลอด Supply chain เริ่มตั้งแต่ผู้ผลิตจนกระทั่งถึงผู้ส่งมอบให้กับผู้บริโภค โดยให้กน่วยงานที่เรียกว่า CBP: Customs and Border Protection ก็คือศุลการกรของอเมริกาเป็นผู้รับผิดชอบโปรแกรมนี้ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.cbp.gov

C-TPAT คือโปรแกรม ตามที่ CBP ระบุ แต่ถูกวาง framework ไว้ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 28000:2007; Specification for Security Management for Supply Chain ดังนั้นรูปแบบของ C-TPAT จึงเสมือนกับมาตรฐาน Security Supply Chain Management อันหนึ่ง เพียงแต่เรียกว่า C-TPAT Program เท่านั้น

 
ผู้ดูแลเรื่อง C-TPAT Program คือใคร?

           จากเหตุการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในประเทศอเมริกาหลายครั้ง รวมถึงครั้งใหญ่ที่สุดคือ 9-11 ที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศสหรัฐอเมริการเป็นอย่างมาก และจากข้อเท็จจริงพบว่าการก่อการร้ายทั้งหมดมีการวางแผนนอกประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งสิ้น และมีการจัดสรรลำเลียงมาทางเส้นทางขนส่งสินค้าตามปรกติ จึงทำให้อเมริการจึงต้องออกแบบ โปรแกรม C-TPAT ขึ้นมาเพื่อป้องกันการก่อเหตุร้าย โดยมอบหมายให้หน่วยงานชื่อว่า CBP: Customs and Border Protection (www.cbp.gov) เป็นเจ้าภาพและผู้ดูแล รวมถึงการ Certify ในระดับ 1st Tier ด้วย

CBP: U.S. Customs and Border Protection สังกัดหน่วยป้องกันมาคุภูมิของสหรัฐ หรือ Homeland Security Department มีภาระกิจ (mission) หลัก 1 ใน 5 คือป้องกันประเทศสหรัฐอเมริการจากภัยคุกคามด้านการก่อการร้าย ดังนั้น CBP จึงเป็นเจ้าภาพหลักในการควบคุม C-TPAT Program และเป็นผู้ Certify พร้อมกันสำหรับ 1st Tier

ธุรกิจใดบ้างที่ต้อง Implement C-TPAT Program

          หลายองค์กร ยังมีคำถามและข้อสงสัยว่าใคนบ้างต้องทำ C-TPAT และธุรกิจใดบ้างต้องทำ C-TPAT ซึ่งคำตอบมันก็มีอยู่ว่า การที่ประเทศสหรัฐอเมริการจะพิจารณาว่าใครบ้างควรจะทำ C-TPAT จะถูกพิจารณาจากดัชนีความเสี่ยงด้านการร้ายของแต่ละประเทศเป็นเบื้องต้น ถ้าประเทศไหนที่มีความเสี่ยงสูง ก็จะนำดัชนีความเสี่ยง มาคูณกับปริมาณการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา และดูตัวเลขเพื่อพิจารณาการตัดสินใจบังคับให้ Implement และ Certify

CBP จะมีวิธีการบังคับผ่านผู้นำเข้าสินค้า (Importer) เข้าไปยังประเทศสหรัฐอเมริการ ที่ต้อง implement C-TPAT และบังคับต่อไปยัง foreign manufacturer และ suppliers’ ที่อยู่ต่างประเทศ โดยผู้นำเข้าจะถูกบังคับให้เป็น 1st Tier เสมอ การตรวจสอบจะเริ่มจากปลายทางของ supply chain ย้อนไปถึงต้นทางคือผู้ผลิต ที่เรียกว่า foreign manufacturer

ดังนั้นหลายโรงงานที่อยู่ในเมืองไทย ที่ทำธุรกิจเหมือนกันและส่งออกไปยังอเมริการเหมือนกัน มีคำถามว่าทำไมโรงงานนี้ต้อง implement C-TPAT แต่โรงงานนี้ไม่ต้อง implement เพราะอะไร คำตอบก็คือ ปริมาณการส่งออกที่ไม่ทำกัน ทำให้โรงงานที่ส่งออกในปริมาณน้อยกว่าไม่ถูกบังคับให้ implement

การ Implement C-TPAT Program ต้องทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก

         C-TPAT Program จริงๆแล้วก็คือมาตรฐาน ISO 28000:2007 ระบบก็จะมี platform เป็น proactive ก็คือต้องมีการประเมินความเสี่ยงเหมือนกับมาตรฐาน ISO 9001:2015, ISO 14001:2015 เช่นกัน การที่องค์กรใดที่ต้องการที่จะ implement C-TPAT แต่มีมาตรฐานดังที่กล่าวมาอยู่แล้วก็จะเป็นการง่ายในการเรียนรู้และเข้าใจในการที่จะ Implement ซึ่งข้อแนะนำที่ดีในการประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายและไม่ยุ่งยากควรใช้บริการที่ปรึกษา

การใช้ที่ปรึกษาจะลดเวลาในการค้นหา การทำความเข้าใจ การแก้ไขแต่ละจุดเพื่อปรับเข้าสู่มาตรฐาน และลดค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง และสร้างความมั่นใจในการ Certify ด้วย

การ Certify C-TPAT Program ทำอย่างไร??

            การ Certify ของ C-TPAT Program เนื่องจากเป็น Program ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา โดย CBP เป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นผู้รับผิดชอบหลักในการ present program และ certify จึงเป็นหน้าที่ของ CBP: Customs and Border Protection แต่การ certify จะแบ่งเป็นระดับชั้นของความสำคัญที่จะมีผลโดยตรงทันทีต่อมาตุภูมิของอเมริกา จึงถูกออกแบบไว้เป็น 3 ระดับ ตามที่กล่าวไว้อย่างคร่าวๆ ใน C-TPAT Program ดังนี้

Certify level
Organization shall apply
CB: Certify Body

1st Tier Importer หรือผู้นำเข้า ที่ต้องขอการรับรองจาก CBP โดยตรง CBP


2nd Tier Foreign manufacturer หรือผู้ผลิตนอกประเทศสหรัฐ ที่ผลิตเพื่อส่งไปอเมริกา
SGS, BVQI, InterTech


3rd Tier Suppliers ที่นำเนินการ supply products and services ให้กับกลุ่ม Foreign manufacturer Client
 

สำหรับ 1st Tier นั้นจะต้องยื่นสมัครผ่านทาง website ของ www.cbp.gove เพื่อขอการตรวจสอบและรับรอง เท่านั้นไม่มีการยื่นทางเอกสาร โดยจะมีกระบวนการและขั้นตอนที่ชัดเจนระบุไว้ใน Website

ส่วน 2nd Tier นั้นจะดำเนินเนินการผ่านช่องทางเอกสารตามปรกติไปยัง CB: SGS, BVQI, InterTech เพื่อขอการตรวจสอบและรับรองเพื่อออก Certificate

ส่วนลำดับสุดท้ายคือ 3rd Tier นั้นไม่ต้องดำเนินการอะไร เพียงแต่ต้องตอบแบบสอบถามจาก client ก่อนเพื่อจะประเมินพื้นฐานว่ามีระบบการจัดการที่ปลอดภัยหรือไม่ ก่อนที่จะถูกประเมินจาก client เพื่อให้แก้ไขอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของ Client เช่นกัน ส่วนการที่ Client จะออกใบรับรองให้หรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อตกลงเงื่อนไข ระหว่างกัน

การประเมินผลและตรวจสอบ (Evaluation) โดย CBP ทำอย่างไร?

          ถึงแม้ว่าจะมีการรับรองหรือออก certificate จากใครก็ตามเช่น SGS, BVQI หรือ InterTech แล้ว CBP ก็ยังสามารถ surveillance ลงตลอดทั่ว supply chain คือจาก 1st Tier ลงมา 2nd Tier และทะลุไปยัง 3rd Tier ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข การแก้ไขขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ดูแลใคร ก็ต้องรับผิดชอบในการบังคับเพื่อทำการปรับปรุงเพื่อลดความเสี่ยง

CBP จะมีตารางการ surveillance ผ่านมาทาง Importer เสมอและระบุลงมายัง 2nd Tier หรือ 3rd Tire รายใดก็ตาม แต่ทุกครั้งจะมีการแจ้งและนัดหมายเสมอ

ผู้เขียน อุเทน เข้มขัน  กรรมการผู้จัดการ
โทรศัพท์ 081-6893090, uthen@qmlcorp.com

www.qmlcorp.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Call to Action

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com