Admin_support
chalermphol@qmlcorp.com
มาตรฐาน ISO/TS 16949:2016 (2720 อ่าน)
27 ต.ค. 2559 01:24
ข้อกำหนดของ ISO/TS 16949 ได้มีการกล่าวถึง Potential Failure Modes and Effects Analysis:
FMEA ในส่วนของกระบวนการการออกแบบและพัฒ
นาผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้มีการระบุในข้อกำหนดย่อย ๆ ของ
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น คุณลักษณะ
พิเศษ (special characteristics) ผลการออกแบบผลิต
ภัณฑ์ (product design outputs - supplemental)
และผลการออกแบบกระบวนการผลิต (manufacturing
process design output) เป็นต้น โดยที่ Potential
Failure Modes and Effects Analysis: FMEA เป็น
กระบวนการวิเคราะห์ที่นำมาใช้เพื่อให้มั่นใจว่า แนวโน้ม
ของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้มีการพิจารณา วิเคราะห์
นอกจากมาตรฐาน ISO/TS 16949 แล้ว ยังมีเครื่องมือหลัก
ต่าง ๆ (core tools) เช่น Potential Failure Modes and Effects
Analysis, Statistical Process Control และ Measurement System
Analysis ที่สามารถช่วยในการพัฒนาและปรับปรุงความสามารถของ
องค์การในกระบวนการต่าง ๆ ปัจจุบันเครื่องมือหลัก (core tools) ต่าง ๆ
ดำเนินการแก้ไขระหว่างการดำเนินการออกแบบ
และพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการสำหรับผลิต
ภัณฑ์ใหม่ (new model) ดังนั้น ความรุนแรงของแนว
โน้มผลกระทบของข้อบกพร่องจะมีการพิจารณาและระบุ
รวมถึงโอกาสในการเกิดของสาเหตุของข้อบกพร่อง
โดยทั่วไปแล้วจะมีเกณฑ์การให้คะแนนในส่วนต่าง ๆ
เช่น ความรุนแรง โอกาสในการเกิด และความสามารถ
ในการตรวจจับ ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนนั้นอาจมีความ
แตกต่างกันในแต่ละค่ายผู้ผลิตรถยนต์ ดังนั้น ผู้ผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์ หลังจากที่มีการดำเนินการวิเคราะห์
แนวโน้มของข้อบกพร่องและผลกระทบ
ปัจจุบันเครื่องมือหลัก (core tools)
เหล่านี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาเพื่อให้สามารถนำมา
ประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ใน
แต่ละองค์การอย่างมากที่สุด ซึ่งในแต่ละเครื่องมือนั้น
จะมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับในแต่ละข้อกำหนดของ
ISO/TS 16949
จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในช่วง
หลายปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดการแข่งขันอย่างสูงในกลุ่ม
ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โดยที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหลาย
พยายามที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อรักษาและเพิ่ม
ส่วนแบ่งตลาด ทำให้ผู้ผลิตได้มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม
ศักยภาพความสามารถในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลผลิตและ
การปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยการนำเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆ
มาประยุกต์ใช้ หรือจะเป็นการลดความสูญเสียต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน
กระบวนการผลิต
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น
เรื่องของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความสามารถในการส่งมอบ รวมทั้ง
ราคาที่สามารถแข่งขันได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีการแข่งขันอย่างสูง
ในกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ นอกจากนี้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ
ยังได้มีการนำมาตรฐาน ISO/TS 16949 ซึ่งจัดทำโดย International
Automotive Task Force: IATF และ Japan Automobile Manufacturers
Association, Inc. (JAMA) และจากการสนับสนุนของ ISO/TC
176, Quality Management and Quality Assurance ไปประยุกต์ใช้
ควบคู่กับข้อกำหนดของลูกค้าต่าง ๆ
จากหลายๆบริษัทที่มีการประยุกต์ใช้ระบบคุณภาพ ISO/TS 16949
และได้รับการรับรองความสามารถไปแล้วผลิตภัณฑ์ก็สามารถขายได้แล้ว
เมื่อเรามองเข้าไปในรายละเอียดในแต่ละประเด็นในข้อต่างๆ
เช่น ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการควบคุมเครื่องมือ การสอบเทียบเครื่องมือ
และการวิเคราะห์ระบบการวัด (Measurement System Analysis)
ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลและการนำข้อมูลที่วิเคราะห์ไปใช้งาน
จะพบว่ามีหลักฐานในการตรวจประเมินครบถ้วนสมบูรณ์แบบ
แต่ยังไม่มีการนำข้อมูลต่างๆไปใช้งานจริงๆ เช่น เราสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ใช้ในระบบต่างๆ
แล้วและมีใบรับรองผลการสอบเทียบ จะมีกี่คนที่นำข้อมูล
ในใบรับรองผลการสอบเทียบไปชดเชยให้กับเครื่องมือวัดนั้น
หรือในขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA)
กว่าจะรู้ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่าเราผลิตของเสียออกไปมากมาย
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต เพราะฉะนั้นบริษัทที่เริ่มมีการใช้กระบวนการในการวัดชิ้นงาน
แล้วส่งข้อมูลไปยังหน่วยวิเคราะห์ได้ทันที สามารถลดขั้นตอนการส่งผ่านข้อมูล
และลดความผิดพลาดในการถ่ายเทข้อมูล และทุกครั้งที่มีการวัดทุกคน
ในระบบจะรู้ข้อมูลพร้อมๆกัน หรืออาจจะมีการแจ้งเตือนไปยังผู้มีหน้าที่
รับผิดชอบทันทีที่พบข้อบกพร่องตามที่กำหนด จะทำให้ตัดสินใจได้ทันเวลา
และยังสามารถนำข้อมูลต่างๆเหล่านี้ไปใช้วางแผน
ในการป้องกันความเสียหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : http://www.sumipol.com
171.97.48.233
Admin_support
ผู้ดูแล
chalermphol@qmlcorp.com