Admin_support
chalermphol@qmlcorp.com
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ส่งโรงแรม สร้างรายได้ (2147 อ่าน)
6 ส.ค. 2559 03:36
คุณจิตพล ทวีกาญจน์ อดีตอดีตโปรแกรมเมอร์เงินเดือนสูง โบกมือลาออฟฟิศ กลับสู่วิถีเกษตรกรรมรากเหง้าของครอบครัว ณ บ้านเกิด อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาหาความรู้ ปลูกผักไร้ดินไฮโดรโปนิกส์ ประสบความสำเร็จ ส่งขายโรงแรมในเขตพื้นที่ท่องเที่ยว อ.ชะอำ-หัวหิน สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 บาทต่อเดือน
คุณจิตพล ทวีกาญจน์ หรือเบียร์ เล่าว่า เรียนจบมาทางด้านไอที ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่ที่ กทม. ทำจนถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกเบื่อ อิ่มตัว ต้องการรกลับมาทำอะไรอยู่ที่บ้าน โดยที่บ้านพื้นฐานทำการเกษตรอยู่แล้ว คือปลูกกล้วยและมะนาว ซึ่งเห็นมาตั้งแต่เด็ก และรู้ว่าหนัก ทำไม่ไหว เลยมองหาอะไรที่เบากว่านั้น ที่ยังเกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ตัดสินใจเลือกผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะสนใจมานานแล้ว จากนั้นก็ศึกษาโดยหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต แล้วลองทำดู เริ่มจากแปลงเล็ก ๆ เรียนรู้จนสามารถทำได้ นั่นคือการเตรียมความพร้อม จากนั้นเลยตัดสินใจออกจากงาน ลงทุนทำแปลงใหญ่เดินหน้าอย่างเต็มตัว
โดยการให้ผลทางเศรษฐกิจ และวิธีการปลูก คุณจิตพลอธิบายว่า ปลูกทุก 3 วัน เริ่มต้นการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน ขายกิโลกรัมละ 100 บาท โดยตัดขายทุกวัน ยอดขายประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน
ปลูกตามมาตรฐานของระบบไฮโดรโปนิกส์ คือการปลูกผักโดยใช้น้ำ ใส่แร่ธาตุลงในน้ำเพื่อให้ผักดูดซึม ให้ผักเติบโตตามกำหนด ก็สามารถเก็บเกี่ยวตามแต่ละชนิดได้ โดยที่นี่ใช้วิธีการปลูกแบบเพอร์ไลต์ในถ้วยปลูก เพอร์ไลต์ก็คือหินสกัดจากภูเขาไฟนำมาใช้เป็นวัตถุเทียมดิน กรอกใส่ในถ้วย หยอดเมล็ดผักลงไป รดน้ำให้โต แล้วนำใส่ในน้ำเลี้ยงปุ๋ย และอีกแบบคือใช้ฟองน้ำ ใช้เมล็ดหยอดในฟองน้ำเพาะให้งอก จากนั้นก็นำไปเลี้ยงในน้ำปุ๋ยเช่นกัน
มีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้
เพาะเมล็ดประมาณ 7 วัน จนเมล็ดงอก
นำไปใส่ในรางอนุบาล ประมาณ 15 วัน
จากนั้นนำลงแปลงปลูก อีกประมาณ 15-20 วัน
โดยระหว่างที่ลงแปลงปลูกนั้นต้องดูแลเรื่องปุ๋ย ค่าน้ำ ต้องให้อยู่ในระดับที่ผักเติบโตได้ดี ในวันที่แดดจัดต้องพรางแสงเพื่อป้องกันใบไหม้จากความร้อน โดยหลัก ๆ มีสองเรื่อง คือเรื่องน้ำและแสง
โดยสถานที่ปลูกนั้นอยู่ในโรงปรับอุณหภูมิ เนื่องจากอากาศที่นี่จะร้อนเป็นหลัก โรงปรับจะช่วยให้อุณหภูมิภายในเย็นลง ซึ่งมีพัดลมเป็นตัวควบคุม อุณหภูมิจะอยู่ประมาณ 28-30 องศาฯ ซึ่งผักสามารถเติบโตได้ดีจนถึงวันเก็บเกี่ยว
ส่วนในเรื่องของปัญหา คุณจิตพลเล่าว่า ปัญหาอย่างแรกนั้นจะเป็นเรื่องน้ำ เพราะใช้น้ำประปา เมื่อถึงช่วงหน้าร้อนค่ามาตรฐานน้ำจะไม่คงตัว เช่น มีคลอรีนเยอะกว่าปกติ จึงต้องมีการปรับค่าน้ำก่อนที่จะทำการปลูก เพราะค่าน้ำทำให้มีผลต่อการเติบโตของผัก อีกเรื่องคืออากาศที่ค่อนข้างมีความแปรปรวน ต้องดูแลไม่ให้ร้อนหรือร่มจนเกินไป และอีกเรื่องคือ ปัญหาในเรื่องการป้อนตลาด ต้องกระจายสินค้าให้ได้ตามกำหนด เนื่องจากผักมีอายุประมาณ 45 วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 50 วัน ถ้ามากกว่านี้จะเป็นผักแก่ ถ้าหาตลาดส่งไม่ได้ก็จะเสีย หรือหากตัดผักก่อน 45 วัน ผักจะมีน้ำหนักเบา ไม่ได้มาตรฐาน และส่งผลกระทบเพราะปลูกเป็นรุ่นทุก 3 วัน ผักก็จะขาดไล่ลงมาเรื่อยๆ ไม่เป็นไปตามกำหนด
โดยตลาดของผลผลิตนั้นเน้นส่งให้โรงแรม ส่วนราคาขายคุณจิตพลใช้วิธีกำหนดราคาตายตัวเพื่อมัดใจลูกค้า คือหลังจากเริ่มปลูกก็มองหาตลาด โดย จ.เพชรบุรีเป็นเมืองท่องเที่ยว ชะอำอยู่ติดกับหัวหิน มีโรงแรมและร้านอาหารมากมาย ก็เลยติดต่อกับโรงแรมและร้านอาหารในเขตพื้นที่ชะอำและหัวหินเพื่อกระจายสินค้า สิ่งก็ได้รับการตอบที่ดี เพราะร้านอาหารและโรงแรมต้องใช้ผักประเภทนี้ในการทำอาหาร เช่น สเต๊ก สลัด โดยหลัก ๆ จะส่งให้กับทางโรงแรมใน อ.หัวหิน ซึ่งตอนนี้มีรับผักจากเราอยู่ประมาณเกือบ 20 โรงแรม
ผักออร์แกนิกมีราคากลางอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 80-120 บาท ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ผักประเภทนี้ชอบอากาศเย็น หากเป็นช่วงปลายปีจะมีผลผลิตเยอะ ราคาจะตก แต่หากเป็นช่วงหน้าร้อน จะโตช้า มีน้อย ราคาก็จะเพิ่มสูงขึ้น หน้าหนาวถูก หน้าร้อนแพง หน้าฝนกลาง ๆ โดยทางเราใช้วิธีเซ็ตราคาตายตัว คือกิโลกรัมละ 100 บาท ราคาเดียวทั้งปี โดยการันตีว่ามีผักส่งให้ตลอดปีแม้ช่วงหน้าร้อนผักอาจจะขาดตลาดและมีราคาแพง
และการพัฒนาต่อยอดนั้น คุณจิตพลวางแผนเพิ่มยอดผลิตและแปรรูปสินค้า ซึ่งให้รายละเอียดว่าพยามยามเพิ่มยอดการผลิตให้มากขึ้น เพราะมองว่าตลาดยังเปิดกว้าง โรงแรมใน อ.หัวหิน มีเป็นร้อยโรงแรมสามารถเพิ่มยอดขายได้อีกมาก เพิ่มวิธีการขายปลีก อาจทำหน้าร้านเพื่อขายปลีกมากขึ้น และยังมองถึงการเพิ่มมูลค่าของผักที่ปลูก โดยการนำมาแปรรูป ซึ่งตอนนี้ขายอยู่กิโลกรัมละ 100 บาท แต่เมื่อนำมาแปรรูปแล้วอาจเพิ่มมูลค่าต่อกิโลกรัมได้ ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงวางแผน
และสุดท้าย คุณจิตพลได้ให้ข้อคิดเห็นสำหรับผู้ที่ต้องการทำเกษตรกรรมในลักษณะนี้ไว้ด้วยว่าต้องศึกษาก่อน ปลูกอะไร ดูรายละเอียดสิ่งที่เราต้องการปลูก เรียนรู้วิธีการปลูก จากนั้นต้องดูตลาด ว่ามีตลาดหรือไม่ หากเป็นไปได้ ควรขายให้ถึงผู้บริโภคโดยตรงให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงคนกลาง เพราะหากผ่านพ่อค้าคนกลางราคาสินค้าของเราจะหายไปประมาณ 20- 30% แนะนำว่าต้องเจาะตลาดตรงให้ได้
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษา Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้านทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สายด่วน 1333
110.168.230.123
Admin_support
ผู้ดูแล
chalermphol@qmlcorp.com