image
โลกร้อน (Global Warming) เป็นเรื่องที่เรารู้กันมาก่อนล่วงหน้าเป็นเวลา 40 กว่าปีแล้ว โดยในปี คศ. 1980 ที่ทาง UN : United Nation จับสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงมากขึ้น และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อโลกใบนี้ได้

UN จึงได้มอบหมายให้ UNEP: United Nation Environment Program ร่วมกับ WMO: World Meteorological Organization (องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก) จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาเรียว่า IPCC: Intergovernmental Panel on Climate Change เพื่อศึกษาหาสาเหตุและผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่ง IPPCC ใช้เวลาในการศึกษาหาสาเหตุเป็นเวลา 2 ปี (1988 -1990) จึงได้ข้อสรุปและออกรายงานว่า “กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ส่งผลกระทบต่อภูมิอากาศจริง “

 IPCC ได้วิเคราะห์วัฏจักรของการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ นั้นสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ประจำวันที่ปลดปล่อย GHG: Greenhouse Gas หรือก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ ส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) เกิดโลกร้อน (Global warming) และเกิดการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก (Climate change) และภัยพิบัติต่างๆ ที่ตามมา การแก้ปัญหาของทุกประเทศจึงต้องมุ่งไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจก GHG ซึ่งมีจำนวน 6 ประเภทด้วยกัน โดยมี Carbon dioxide เป็นองค์ประกอบที่สำคัญจำนวน 80% ของก๊าซทั้งหมดนี้

การจัดการกับปัญหาของเรื่องโลกร้อน จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกประเทศ จะต้องเห็นพ้องต้องกัน ให้ความร่วมมือกัน มีฉันทามติ กรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ดังนั้น UN จึงได้จัด Earth Summit ขึ้นในปี 1992 โดยได้ร่างอนุสัญญา UNFCCC (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ) เพื่อให้ทุกคนได้ลงสัตยาบันร่วมกัน โดยเบื้องต้นมีประเทศผู้ลงนามจำนวน 150 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามอนุสัญญาในปี คศ. 1994 เพื่อเป็นสมาชิกภาคีของอนุสัญญา

UNFCCC (อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ) ได้สร้างกลไกในการเจรจาต่อรองหาข้อตกลงร่วมกันผ่านกระบวนการประชุมที่เรียกว่า COP (Conference of Party) การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ โดยจัดให้มีการประชุมทุกปี เพื่อเร่งเวลาหาข้อตกลงกันในเรื่องของการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

COP: Conference of Party ได้เริ่มการประชุมเจรจาต่อรองในการดำเนินการจัดการเรื่องโลกร้อน ครั้งแรก COP 1 ตั้งแต่ปี 1995 (March 1995) ที่กรุง Berlin สาธารณรัฐเยอรมันนี มีการประชุมประจำทุกปี ปัจจุบันเข้าสู่การประชุมครั้งที่ 28 หรือที่เรียกว่า COP 28 ซ่งจะจัดประชุมขึ้นที่สหรัฐอาหรับอมิเรท ในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2023 นี้

การประชุม COP ครั้งที่ประสบผลลัพธ์ที่สำเร็จ และส่งผลให้เกิดการปฏิบัติในการลดก๊าซเรือนกระจก GHG มีดังนี้ COP 3 การประชุมพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) พิธีสารเกียวโต ได้สร้างข้อตกลงให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Annex 1) ให้เป็นมาตรการทางกฎหมายในการลด ก๊าซคารบอนไดอ๊อกไซด์ ไอน้ำ โอโซน มีเทน ไนตรัสอ๊อกไซด์ และครอโรฟลูโอโรคาร์บอน ที่จะสามารถลดอุณภูมิเฉลี่ยของโลกได้ถึง 0.02-0.028 องศาเซลเซียส ภายในปี 2550 ซึ่งพิธีสาร นี้มีข้อขัดแย้ง สหรัฐลงนามแต่ไม่ให้สัตยาบัน ประเทศแคนาดา ถอนตัวจากพิธีสารมีเพียงแค่ 40 ประเทศที่ลงนามในพิธีสาร  ปัจจุบันได้มีประเทศที่ลงสัตบาบันแล้วจำนวน 127 ประเทศ รวมสมาชิกสหภาพยุโรปอีก 25 ประเทศ คิดเป็น 61 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

การสร้างกลไก CDM: Clean Development Mechanism COP 21 การประชุมสนธิสัญญาปารีส (Paris agreement)
การประชุมที่ Paris มีความสำเร็จในการตกลงที่จะให้ทุกประเทศสมาชิกภาคี ได้ปฏิบัติเหมือนกันหมด โดยได้ สร้าง กลไกในการควบคุม และกำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจนเช่น

·   การใช้ NDCs: Nationally Determined Contributions หรือข้อตกลงแต่ละประเทศที่มีผลผูกพันทางกฎหมายโดยประเทศภาคีทุก ประเทศเพื่อทำแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

·   การใช้ NAMA Nationally Approve Mitigation Action หรือนโยบายแผนปฏิบัติการและโครงการการลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศสมาชิกทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาได้จัดทำขึ้น และดำเนินการโดย สมัครใจโดยไม่มีการจำกัดรูปแบบของนโยบายหรือโครงการ มีการส่งร่างโครงการให้กับ UNFCCC ผ่านระบบทะเบียนบันทึก NAMA Registry

·   การกำหนดเป้าหมายของการลดอุณหภูมิ โดยเป้าหมายต้องลดอุณหภูมิลงให้ไม่เกิน 2 องศา หรือ 1.5 องศา ในปี 2100

 

 

OUR SERVICES

image
CTPAT โปรแกรม ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า Custom Trade Partnership Against Terrorism เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาโดยศุกลกากรประเทศสหรัฐอเมริกา (US Custom: CBP) เพื่อป้องกันการก่อการร้าย ที่จะเกิดขึ้นในระบบการส่งส่ง Supply Chain ที่มีปลายทางอยู่ประเทศ สหรัฐอเมริกาการนำ CTPAT มาใช้ในการควบคุม จะพิจารณาการควบคุม Supply Chain เป็น layer โดยที่มีผู้นำเข้าอยู่ปลายทางในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ Mainland โดยจะมีบทบาทเป็นผู้ควบคุม (Partner) ให้สมาชิก (Member) ที่อยู่ใน supply chain ได้ทำการ validation เพื่อให้มีมาตรการในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการก่อการร้าย

image
ที่ปรึกษา แก้ปัญหา Social Compliance Consultant
ในการถูกตรวจสอบโดยลูกค้า ลูกค้าที่ถูกตรวจสอบโดยลูกค้าต่างประเทศ (USA, EU) ที่ให้ความสนใจในเรื่อง Social compliance และความปลอดภัยในการทำทำงาน ความปลอดภัยด้าน Supply Chain และมีปัญหาปรับแก้ในการตรวจสอบ เช่นการจ้างแรงงาน การทำงานเกินเวลาที่กำหนด ความปลอดภัยในการทำงาน สามารถโทรปรึกษาเราได้

 
image
supply Chain Security
CTPAT-AEO-KC3-RA3
ความปลอดภัยในระบบจัดส่งสินค้า
ในยุคของ Globalization ที่มีการส่งผ่านสินค้ามากมายไปยังทั่วโลก ความปลอดภัยในการจัดส่งจึงเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคทุกคนจะต้องได้รับ
สินค้าสูญหาย เกิดการซุกซ่อน สินค้าเกิดการปลอมปน เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อประเทศต่างๆ จึงได้สร้างมาตรการในการป้องกันการเกิดเหุตดังกล่าว

BLOG

พบ100ธุรกิจสตาร์ทอัพ ใน7โซลูชั่นที่พร้อมให้บริการ แก่ภาครัฐบาลและเอกชน

ณ ตอนนี้ทุกคนเริ่มให้ความสนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือโลกของเรามากขึ้น ลดการใช้ขยะพลาสติกลง มีการใช้ถุงผ้าในการซื้อของ

Call to Action หรือที่เรียกสั้นๆว่า CTA หมายถึงการเรียกหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำบางอย่าง เพื่อให้ผู้รับสารตอบสนองต่อข้อเสนอของเรา

QML CORPORATION CO., LTD | Management consultant
บริษัท คิวเอ็มแอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ที่อยู่ 116 ลาดพร้าว 96 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310
Powered by MakeWebEasy.com