Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

  เคล็ดลับ 3 ประการสู่การสร้างนวัตกรรม (1298 อ่าน)

5 ก.พ. 2560 06:59



ท่ามกลางสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงและเข้มข้นของโลกไร้พรมแดน กดดันให้ผู้ประกอบการต้องค้นคิดเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นั่นคือ การสรรหานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจให้เติบโต เพิ่มยอดขาย และสร้างเส้นทางใหม่ของธุรกิจ

ปัจจุบันนวัตกรรมกลายเป็นเครื่องมือใหม่ทางยุทธศาสตร์ของการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยเฉพาะเมื่อผู้ประกอบการกำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล (Digital Disruption) ขณะที่การดำเนินกลยุทธ์แบบเดิม เช่น หลักการตลาด การสร้างความแตกต่าง กฎระเบียบ ข้อกีดกันทางการค้า เริ่มใช้ไม่ได้ผลในยุคนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าว SCB SME จึงต้องการให้ผู้ประกอบการ นำนวัตกรรมเข้าไปประยุกต์กับสินค้ามากยิ่งขึ้น แต่การสร้างนวัตกรรมใหม่ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย

Joseph Alois Schumpeter นักเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ กล่าวว่า ผู้ประกอบการต่างก็แสวงหานวัตกรรม ในกระบวนการผลิตสินค้าใหม่ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กรได้เปรียบทางการค้า การแข่งขัน ตลอดจนถึงการผูกขาด แต่บ่อยครั้งผู้ประกอบการมักลอกเลียนนวัตกรรมของคนอื่น แล้วมาพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นนวัตกรรม

โดยปรกติแล้วนวัตกรรมแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท

Product Innovation หรือนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นความเปลี่ยนแปลงหลักของนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอยู่เสมอเพราะจับต้องได้ง่าย เช่น การผลิตภัณฑ์ใหม่ สมาร์ทโฟน ดิจิทัลทีวี กระทั่งโซเชียลมีเดีย

Process Innovation หรือนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการ เช่นกระบวนการผลิต กระบวนการในการขายผลิตภัณฑ์ กระบวนการในการนำผลิตภัณฑ์สู่ตลาด เช่น การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต

Position Innovation หรือนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าหรือบริการ เช่น การปรับเปลี่ยนตำแหน่งธุรกิจ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Samsung ที่เปลี่ยนแปลงจากตลาด Mass ไปสู้ ตลาด Hi-End

Paradigm Innovation หรือนวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงกระบวนความคิด เช่น เครื่องยนต์ของรถยนต์ในปัจจุบัน บริโภคน้ำมันน้อยลง แต่มีความเร็วที่เพิ่มขึ้น

โดยปรกติแล้วผู้ประกอบการมักจะมองนวัตกรรมว่า เป็นสิ่งใหม่หรือเป็นอะไรที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม แต่แท้จริงแล้วนวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหม่ หรือสิ่งแปลกใหม่ทั้งหมด การจัดการกระบวนการ หรือคอขวดบางอย่างเพื่อทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพ หรือศักยภาพที่ดีขึ้นก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมแล้ว และนวัตกรรมที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนี้ เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมครั้งใหญ่ที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น การออกรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ จนจุดหนึ่งจึงเกิด รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนหลังงานน้ำมัน

เมื่อนวัตกรรมมีความสำคัญและเป็นจุดเปลี่ยนที่ผู้ประกอบการเอสเอ็สอีให้ความสนใจ กรอบความคิดต่อไปนี้ อาจจะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถคิดนอกกรอบและสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้

1.นวัตกรรมเกิดได้จากความบกพร่อง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นแทบทั้งหมดเกิดขึ้นจากความคิดเพื่อแก้ไขในสิ่งที่เป็นปัญหาและข้อบกพร่องแทบทั้งสิ้น และมีอยู่ส่วนน้อยมากที่เป็นการคิดค้นเริ่มต้นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาด้วยตัวเอง เช่น การใช้เทียนไขให้แสวสว่างเป็นปัญหา จึงเกิดการประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้น และเพราะกำลังของม้ามีข้อจำกัดจึงกลายเป็นที่มาของรถยนต์ในปัจจุบัน

ดังนั้นนวัตกรรมจะเกิดขึ้นจากความบกพร่อง ในมุมกลับกันผู้ประกอบการส่วนใหญ่กลับมองข้ามข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ และเชื่อมั่นในความสมบูรณ์แบบของสินค้า ซึ่งนั่นทำให้การคิดค้นนวัตกรรมเป็นเรื่องยาก ผู้ประกอบการที่มุ่งแสวงหานวัตกรรมจึงต้องมองให้เห็นข้อบกพรองของสินค้าและบริการของตัวเองเสียก่อน และจึงหาคำตอบว่าจะพัฒนาให้สินค้าและบริการนั้นดีขึ้นได้อย่างไร

2.ลูกค้ามักจะบอกเราว่าต้องทำอะไร บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการมักเผชิญกับความท้าทายในการคิดนอกกรอบ ขณะที่ผู้ประกอบการอีกกลุ่มหนึ่งคิดนอกกรอบไปไกลจนลืมสนใจลูกค้า บ่อยครั้งเรามักพบว่านวัตกรรมเกิดขึ้นง่าย ๆ จาก Pain Point และคนที่บอกเล่าได้ดีที่สุดคือลูกค้านั่นเอง

ผู้ประกอบการจำนวนมากมุ่งมั่นใจการผลิตสินค้าและบริการ จนปฏิเสธหรือลืมรับฟังเสียงของลูกค้า ซึ่งบ่อยครั้งในการทำธุรกิจเรามักพบว่า เสียงของลูกค้าแสดงออกถึงความต้องการที่แท้จริง และโอกาสในการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีขึ้น การเปิดรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าและพร้อมที่จะนำมาพัฒนาสินค้าและบริการจะทำให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ และเป็นนวัตกรรมที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งแน่นอนว่า สินค้าและบริการที่เกิดจากนวัตกรรมนั้นจะได้รับการยอมรับจากลูกค้าอย่างแน่นอน

3.คิดให้ใหญ่ แต่เริ่มต้นทำจากสิ่งเล็ก ๆ ทุกครั้งที่ผู้ประกอบการคิดถึงนวัตกรรมมักจะมองไปถึงอะไรที่แปลกและแตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง และมักจะถอดใจกับการคิดสร้างนวัตกรรมเพราะมีอุปสรรคที่ขวางหน้าอยู่มากมาย ดังนั้นในกระบวนการสร้างนวัตกรรมที่กูรูนวัตกรรมแนะนำ มักจะบอกว่า “จงคิดให้ใหญ่ แต่ทำให้จากสิ่งเล็ก” เพราะการคิดใหญ่ทำใหญ่ในทันทีนั้นสำเร็จได้ยาก

ในตำราเรื่องนวัตกรรมมีระบุถึง Incremental Technology หรือนวัตกรรมส่วนเพิ่ม และ Radical Technology หรือ นวัตกรรมที่เปลี่ยนแลปงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนวัตกรรมทั้งสองส่วนนี้มีความเชื่อมโยงกัน และการพัฒนานวัตกรรมแบบ Incremental อย่างสม่ำเสมอจะเป็นส่วนสำคัญในการคิดต่อยอดนวัตกรรมแบบ Radical ด้วย

อย่างไรก็ตาม การคิดสร้างนวัตกรรมนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความชำนาญและความเชี่ยวชาญ มีแต่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้นจึงจะเกิดการแตกยอดความคิดออกมาเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ ดังนั้นผู้ประกอบการเอง จึงต้องทำความเข้าใจกับธุรกิจที่ทำอยู่ให้ลึกซึ้งเสียก่อน จากนั้นจึงวิเคราะห์ธุรกิจให้เห็นจุดที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน และเส้นทางที่จะผลักดันธุรกิจในอนาคต แล้วจึงกำหนดเป็นแผนธุรกิจ และแผนการสร้างนวัตกรรมให้องค์กร กรอบความคิดดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรต้องคิด และวางแผนก่อนที่จะกระโดดไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ โดยทันที

ที่มา : https://scbsme.scb.co.th

110.169.68.47

Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com