Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

  Refun สุดยอดนวัตกรรม เปลี่ยนขยะเป็นเงิน (802 อ่าน)

2 มิ.ย. 2560 05:47



เรื่องของการรีไซเคิลขยะนั้นทุกคนคงเคยได้ยินมาตั้งแต่ยังเด็ก จนกระทั่งทุกวันนี้ การรีไซเคิลก็ดูไม่คืบหน้าสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะในประเทศไทย เพราะต่อให้มีถังขยะแยกประเภทไว้ให้ แต่สุดท้ายหน้าตาก็เหมือนกันไปหมดจนไม่รู้จะหยอดถังไหนอยู่ดี และสุดท้ายก็ทำให้ขยะที่ทิ้งนั้นเรี่ยราด และไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด

คุณอนน เชาวกุล Co-Founder ของ refun.com ผู้เล็งเห็นถึงปัญหาที่ค้างคามานานนับสิบปีข้อนี้ จึงสร้างสรรค์ Startup ที่มีเรื่องของนวัตกรรมเข้ามาช่วยจัดการขยะรีไซเคิล ทำให้สิ่งแวดล้อมดีและน่าอยู่มากขึ้น โดยโปรดักต์แรกตอนนี้ก็คือ ตู้ Refun หรือตู้รีไซเคิลอัตโนมัติ เป็นลักษณะเหมือนตู้ ATM เอาไว้รับซื้อขยะรีไซเคิลอัตโนมัตินั่นเอง

มองว่าการจัดการสิ่งแวดล้อม ต้องเริ่มต้นจากการคัดแยกขยะในตอนที่เราจะทิ้ง ต้องทิ้งขยะแต่ละประเภทให้ถูกที่ การรับซื้อหรือการจัดการขยะจึงต้องมีการคัดแยกที่ชัดเจน เพื่อนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น ตอนนี้ตู้ของเราจึงเปิดรับขวดพลาสติกใส (ขวด PET) เป็นอันดับแรก

ปลูกจิตสำนึกให้มีความหมาย ได้เงินเข้ากระเป๋า แถมได้ทำประโยชน์ต่อส่วนรวม

การช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อม หรือปลูกจิตสำนึกให้รู้จักการแยกขยะต่างๆ นั้น จะให้ได้ผลดีต้องเริ่มจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ และได้ผลตอบแทนกลับมา โดยรูปแบบของตู้ Refun นี้จะช่วยปลูกจิตสำนึกให้กับคนในสังคมให้รู้จักแยกขยะได้โดย..

หลายคนมีขยะในมืออยากรีไซเคิลแต่ไม่รู้จะเอาไปไว้ที่ไหน การจะไปถึงโรงงานหรือไปถึงที่ผลิตเลยก็ลำบาก หรือต่อให้มีถังแยกขยะก็ไม่รู้ว่าจะต้องทิ้งลงใบไหน เพราะขาดความเข้าใจ เราเลยทำตู้ Refun ขึ้นมา

โดยตู้ Refun เป็นตู้สี่เหลี่ยมเหมือนตู้กดน้ำ ที่ตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ ที่คนเข้าถึงได้ง่าย เช่น คอนโดมิเนียม ปั๊มน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า ไว้รับขยะรีไซเคิล ซึ่งตอนนี้รับได้แค่ขวดพลาสติก เมื่อคนดื่มน้ำเสร็จก็รวบรวมไว้ แล้วมาหยอดคืนที่ตู้ทีเดียว ซึ่งไม่ใช่การหยอดคืนฟรีๆ แต่จะได้เงินคืนกลับมาเหมือนขายของเก่าให้กับตู้

ได้ประโยชน์กับคนหยอดเองและสังคมส่วนรวม โดยขวดหนึ่งได้ 10 สตางค์ 10 ใบก็เท่ากับ 1 บาท ถ้าเป็นขวดใบใหญ่ 1.5-2 ลิตร จะได้ขวดละ 20 สตางค์ 5 ใบเท่ากับ 1 บาท

เลือกได้ว่าจะรับเป็นเงินสด หรือบริจาคให้กับมูลนิธิต่างๆ

หลังจากที่หยอดขวดพลาสติกและได้เงินจนเป็นที่พอใจแล้ว ก็สามารถกดปุ่ม Refun เพื่อเลือกช่องทางการรับเงินได้เลย โดยที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินแบบไหน หรือเอาเงินนั้นไปทำอะไรนั่นเอง

ตัวเลือกแรกคือคูปองเงินสด กดออกมาเครื่องก็จะพิมพ์สลิปให้ เราก็สามารถเอาคูปองเงินสดนี้ไปซื้อของในสถานที่ที่ตู้นั้นตั้งอยู่ได้เลย เช่น ถ้ามินิมาร์ตซื้อตู้ Refun ไปใช้ เราก็สามารถใช้คูปองกับร้านมินิมาร์ตนั้นได้

เท่านั้นยังไม่พอ อีกหนึ่งฟังก์ชันในการเลือกใช้เงินที่เราสะสมมาก็คือ การบริจาค ซึ่งตู้ Refun จะรวบรวมมูลนิธิต่างๆ และองค์กรการกุศลที่เราสนใจ สามารถเลือกบริจาคได้ว่าจะใช้เงินที่แลกมานั้นทำบุญให้กับส่วนไหน

จากหนทางแห่งการพัฒนา สู่นวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง

Refun เป็นตู้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนามาอย่างยาวนานถึง 4 ปี ซึ่งคุณอนน เล่าว่า ตู้ Refun รูปแบบแรกนั้นอยู่ในช่วงที่พัฒนาจนกระทั่งล่วงเลยมาถึง 3 ปี จึงได้ออกสู่การใช้งานจริง

แรก ๆ เราก็ทำเครื่องต้นแบบออกมา เอาไปนำเสนอ กลับมาก็ปรับปรุงพัฒนา แก้แบบกันไปเรื่อยๆ จนถึงกลางปีที่แล้ว ก็ได้เข้าไปร่วมโครงการ Startup ต่าง ๆ ได้รับการสนับสนุน ทำเกิดการพัฒนาตัวตู้ต้นแบบให้สามารถออกสู่ตลาดได้จริง เป็นนวัตกรรมที่ใครหลายคนอาจเคยเห็นมาได้สักพักหนึ่งแล้ว แต่เพิ่งถูกพัฒนาเป็นตัวสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายได้จริงเมื่อต้นปีนี้เอง

งานแสดงสินค้า ช่องทางการตลาดหลักของ Refun

การทำธุรกิจย่อมต้องอาศัยการตลาดที่ตรงจุด ถึงจะทำให้เจอกับกลุ่มเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้ ซึ่งสำหรับ Refun แล้ว กลุ่มเป้าหมายจะมีความสนใจมากกว่า หากได้ลองใช้งานเครื่องจริงๆ ด้วยมือตัวเอง

หลักๆ เราจะออกงานแสดงสินค้า มีการร่วมกับกลุ่ม Startup จริงๆ แล้วเรายังได้การสนับสนุนเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยอุบลฯ ซึ่งช่วยให้ต้นแบบเป็นจริงขึ้นมา และมีทางวิศวะจุฬาฯ ก็ช่วยในการออกแบบและพัฒนา Refun ขึ้นมาให้ใช้งานได้จริงอย่างทุกวันนี้

ภาระหนักของการแบกรับนวัตกรรมไว้ในธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจาก Startup สายแอพพลิเคชันอย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก Refun ต่างจาก Startup สายทำแอพฯ อย่างเดียว มีภาระที่มากกว่าคือ เรื่องของระบบ กลไก ตัวตู้ ชิ้นงาน ซึ่งมต้องมีการลงทุนสูง มีการลองผิดลองถูก แน่นอนว่าสายแอพพลิเคชันก็มีการลองผิดลองถูกเช่นกัน แต่เรื่องของต้นทุนแตกต่างกัน เพราะการทำชิ้นงานที่เป็นสิ่งของนั้นต้องแบกรับต้นทุนที่สูงกว่า

การทำแอพพลิเคชันเมื่อทำพลาดก็แค่เขียนใหม่ หรือเสียเวลาไปเท่านั้น แต่ในด้านของเครื่องจักรแล้ว เมื่อทำพลาดก็ต้องแบกรับต้นทุนที่สูง และจะไม่ได้แค่เสียเวลา แต่กลายเป็นได้เศษเหล็กเพิ่มขึ้นมา 1 ชิ้นเต็มๆ ซึ่ง Refun ตอนนี้ก็เป็นรุ่นที่ 15 แล้วตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมา เรียกได้ว่ามีการลองผิดลองถูกไปมากพอสมควรเลยทีเดียว

ที่มา : http://www.bangkokbanksme.com

110.169.69.55

Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com