Call to Action

Last updated: 16 ก.ย. 2561  |  2181 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Call to Action

Call to Action ไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากที่ทำให้ลูกค้าสนใจ

Call to Action หรือที่เรียกสั้นๆว่า CTA หมายถึงการเรียกหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำบางอย่าง เพื่อให้ผู้รับสารตอบสนองต่อข้อเสนอของเรา โดยผ่านปุ่ม แบนเนอร์ หรือกราฟฟิกชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือเป็นตัวอักษรที่อยู่บนเว็บไซต์พร้อมจะให้ผู้ใช้คลิก แล้วนำพาไปสู่หน้าเว็บไซต์ที่นักการตลาดมุ่งหวังไว้ เพราะฉะนั้น Call to Action คือ การกระตุ้นให้ลูกค้าตอบสนองต่อสิ่งที่เราเสนอนั่นเอง

การทำ Call to Action เป็นส่วนสำคัญในการทำการตลาดแบบ Inbound Marketing หรือที่บางทีเราก็เรียกกันว่า Permission Marketing เพราะเป็นการตลาดแบบไม่ยัดเยียด ไม่บังคับใจผู้ใช้ แต่มันเป็นปุ่มที่เชิญชวนให้คนมากด หรือเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ทำอะไรสักอย่างกับเว็บของเรา ซึ่งจะเป็นตัวที่ convert หรือเปลี่ยน “ผู้ใช้” ที่เข้ามาดูเว็บคุณเฉยๆ ไปสู่การเป็น lead หรือเป็น “ว่าที่ลูกค้า” ก่อนที่จะกลายเป็น “ลูกค้า” ที่จ่ายเงินให้เราจริงๆ ต่อไป

เราสามารถพบ Call to Action ได้ในทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหญ่ๆ อย่างเช่น Facebook YouTube Website และ Blog/Article

การสร้าง Call to Action เพื่อเพิ่มยอดขาย

1. ข้าม landing page ถึงแม้จะเป็นวิธีที่หลายคนอาจไม่เห็นด้วย แต่การสร้าง landing page ไม่จำเป็นสเมอไป เครื่องมือใหม่ๆ ช่วยให้คุณสามารถใส่ pop-up ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าชมได้ในทุกเพจของเว็บ โดยเราสามารถจัดการเองได้ ซึ่งมีความแตกต่างจากเมื่อก่อนที่มีการใช้ CTA ที่ยุ่งยากกว่านี้ วิธีนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถคลิกปุ่มหรือกรอกแบบฟอร์มได้เลยทันที ซึ่งพวกเขาเองก็สามารถได้รับข้อมูลหรือข้อเสนอของคุณได้โดยที่ไม่ต้องเข้า landing page แยกอีกหนึ่งอัน ด้วยความเรียบง่ายและสะดวกนี้ทำให้ CTA ของคุณนำลูกค้าไปสู่ข้อเสนอที่คุณต้องการสื่อได้เร็วขึ้นด้วย

2. ตำแหน่งการวาง CTA โดยส่วนใหญ่มักจะว่าง CTA ไว้ที่ด้านล่างของเว็บเพจ แต่ได้มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าหากวาง CTA ให้สูงขึ้นมาหน่อยจะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ใช้ส่วนใหญ่จะไม่เลื่อนไปจนถึงล่างสุด พวกเขาจะดูแค่ช่วงต้นและต้นกลาง ก่อนจะเปลี่ยนไปหน้าถัดไป จึงต้องวางแบนเนอร์ไว้ที่ด้านบนของเพจ หรือทำเป็น pop-up จะทำให้ง่ายต่อการถูกมองเห็น การวางตำแหน่งมีความสำคัญกว่าที่เราคิด เพราะเรามักชินกับการเห็น spam ที่จะอยู่ด้านข้างของเว็บ ซึ่งเมื่อวาง CTA ของเราไว้ในตำแหน่งนั้นๆ ก็อาจทำให้คนมองข้ามไปได้เช่นกัน

3. จำนวนของ CTA ปัจจุบันควรใส่อย่างน้อย 2-3 ชิ้นในแต่ละที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับ CTA อันเดิม เพียงอันเดียว แต่การวาง CTA แต่การวาง CTA ไว้ทั่วทุกแห่งที่มีคอนเทนท์ของคุณ จะทำให้ได้ใช้ประโยชน์จากมันได้มากขึ้น และคุณก็จะได้ดึงดูดกลุ่มผู้ใช้ที่หลากหลายด้วย

4. การสร้าง CTA แบบเฉพาะของตัวเอง หนึ่งในวิธีอีกทางที่มีประสิทธิภาพมากคือการใช้ CTA แบบดัดแปลงให้เข้ากับผู้ใช้งานของเราโดยเฉพาะ เช่น การดึงดูดพวกเขาโดยการมีข้อเสนอหรือคูปองที่เข้ากับความสนใจส่วนตัวของพวกเขา หรือ location-based content ซึ่งคุณจะรู้ว่าคุณมองเป้าหมายไว้ได้ถูกที่เช่นกัน

Call to Action จะทำให้เกิดพฤติกรรมของผู้บริโภค เป็นจุดสำคัญในการทำการตลาด เราไม่ควรสร้างคอนเทนต์ที่คนเห็นแล้วปล่อยผ่าน แต่ต้องเป็นการสร้างที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการทำให้เขาเข้าสู่หน้าเว็บ ได้เห็นสินค้า รวมไปจนถึงการเข้ามาเป็นลูกค้าของเรา

การสร้าง Call to Action ให้กับคอนเทนท์ที่เป็น Startup ของธุรกิจ จะช่วยให้ลูกค้ามาคลิกที่หน้าเว็บไซต์ของเรามากขึ้นเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ต้องการนำเสนอแก่ลูกค้า ส่งผลให้เพิ่มยอดขาย และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนสนใจในตัวธุรกิจ Startup ของเรามากยิ่งขึ้น

การทำ Call to Action เป็นสิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยๆ หากใครพบเห็นตัวอย่างการทำ CTA ที่ดีและน่าสนใจสามารถนำมาพูดคุยและบอกเล่ากันไว้ได้

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com