Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

  8 อุปสรรคการกีดกันทางการค้าในอาเซียนที่ SME ต้องรู้ (763 อ่าน)

1 ม.ค. 2560 17:16



รู้เท่าทัน 8 มาตรการกีดกันทางการค้าในภูมิภาคที่เอสเอ็มอีต้องรับมือ
สายตาที่ทั่วโลกจับตาอาเซียน

อุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ เข้ามาทดสอบประชาคมอาเซียนอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา การเมืองความมั่นคงภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศ ปัญหาข้อพิพาทชายแดน ทะเลจีนใต้ เรื่องคอรัปชั่นความโปร่งใสข้าราชการและประชาชน หรือแม้กระทั่งข้อกังขาในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ทั่วโลกต่างจับตาอาเซียนมาตลอด

สำหรับประชาคมอาเซียน เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อสิ้นปี 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเดินทางมาได้ระยะเวลาเกือบครบ 1 ปี เต็ม เป้าหมายหลักของการรวมตัวกันนั้น เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคง ระหว่างประชาคมอาเซียน อีกทั้ง การรวมตัวกันระหว่างประเทศสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังหมายถึงการสร้างอำนาจการต่อรอง (Soft Power) ในด้านต่าง ๆ กับประเทศมหาอำนาจ หรือระหว่างกลุ่มประเทศมหาอำนาจอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนความเป็นประชาคมอาเซียนยังคงมีปัญหารากลึกบางอย่างที่ยังไม่ได้รับการคลายปมจนถึงตอนนี้ ที่ส่งผลให้ระยะเวลาเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ความตื่นตัวของคนในภูมิภาคในการเป็นอาเซียนนั้นยังนิ่งเฉย และเป้าหมายที่ต้องการทำให้กลายเป็นตลาดเดียว (Single Market) และการเป็นตลาดเสรีที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงาน เงินทุน สินค้า และบริการอย่างเสรีของอาเซียนนั้นยังไม่สามารถเสรีได้อย่างจริง จากการที่หลายประเทศได้ออกกฎระเบียบนโยบายทางการในเชิงสร้างอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษี (Non – Tariff Barriers: NTB) หรือมาตรการกีดกันทางการค้า

สถานการณ์การค้าในอาเซียน

การเป็นประชาคมอาเซียนนั้นตามข้อตกลง คือ การขจัดปัญหาและอุปสรรคที่เป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ครอบคลุมถึงการลดอัตราภาษีนำเข้าให้เหลือศูนย์ แม้ว่าสินค้าหลายอย่างจะสามารถขจัดเรื่องภาษีได้แล้ว แต่สิ่งที่ตามมาคือมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี อีกทั้ง ขั้นตอนการดำเนินการขจัดก็เป็นไปอย่างเชื่องช้า และในหลายประเทศยังเร่งออกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพิ่มเติม ซึ่งส่งผลให้นักธุรกิจ และนักลงทุนไม่สามารถใช้สิทธิพิเศษอาเซียนได้อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน การค้าระหว่างกันของประเทศในอาเซียนยังมีอัตราส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับการรวมกลุ่มกันอย่างในทวีปอเมริกา และในสหภาพยุโรปที่มีการทำการค้าระหว่างกันในกลุ่มประชาคมที่มีการรวมตัวในสัดส่วนที่ใหญ่มากกว่าอาเซียน ซึ่งอาเซียนกลับมีการค้านอกภูมิภาค และมีการแข่งขันแย่งชิงตลาดส่งออกระหว่างกันมากกว่าการที่จะทำให้กลายเป็นตลาดเดียว (Single Market) หรือส่งเสริมให้มีการค้าระหว่างกันในประชาคม

มาตรการกีดกันการค้าที่ผู้ประกอบการต้องรู้ !

มาตรการกีดกันทางภาษีมีอยู่หลายรูปแบบ ซึ่งส่วนมากนั้นจะอยู่ในรูปแบบที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจให้มีความยุ่งยาก ซับซ้อน และใช้เวลานานมากขึ้น โดยสามารถแบ่งออกได้ 8 กลุ่มไดแก่

1. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti – Dumping : AD): ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติ โดยอ้างว่ามีการทุ่มตลาดจากบริษัทผู้ส่งออกมายังประเทศผู้นำเข้า

2. มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti-dumping and Countervailing Duty): ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุนเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติ โดยอ้างว่า สินค้านำเข้าได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลประเทศที่ผลิตสินค้านั้น ๆ

3. มาตรการปกป้องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard): ประเทศผู้นำเข้าเก็บอากรปกป้องเพิ่มเติมจากภาษีนำเข้าปกติได้ โดยอ้างว่ามีการนำเข้าที่ผิดปกติ ทั้งในรูปของการนำเข้ามาของสินค้าในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือมีการนำเข้ามาในราคาที่ต่ำกว่าปกติ

4. มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (The Application of Sanitary and Phytosantary Measures : SPS): การใช้มาตรฐานเรื่อง SPS ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์ ในการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรเพื่อปกป้องและคุ้มครองชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ พืช และสัตว์ ภายในประเทศของตนเอง ในด้านที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการบริโภคหรือเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตที่ติดมากับพืช สัตว์ และผลิตภัณฑ์ รวมทั้งสารเจือปนในอาหาร สารพิษหรือจุลินทรีย์ที่เป็นพาหะของโรค

5. มาตรการอุปสรรคเทคนิคทางการค้า (Technical Barrier to Trade : TBT): กำหนดมาตรฐานทางการค้า อาทิ การกำหนดการติดฉลากและบรรจุภัณฑ์ ที่สูงมาก จนเป็นอุปสรรคต่อสินค้านำเข้าในเชิงพาณิชย์

6. มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ นำเรื่อง ปัญหาโลกร้อน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มาเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า

7. มาตรการด้านแรงงาน ตัวอย่างเช่น สินค้านำเข้า ต้องไม่ได้ผลิตโดยเด็กหรือนักโทษ เป็นต้น

8. NTB รูปแบบอื่น ๆ อาทิ การจัดซื้อโดยรัฐ การผูกขาดการนำเข้า การกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้า

การกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจึงกลายเป็นปมที่สำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการที่มีความสนใจทำการค้ากับอาเซียนต้องศึกษาอุปสรรคอื่น ๆ ที่สำคัญเพิ่มขึ้นนอกจากในเรื่องอัตราภาษี ซึ่งทำให้ต้องหาที่ปรึกษาทางกฎหมายในประเทศนั้น ๆ ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างอุปสรรคด้านการค้าบางประเทศในอาเซียนผู้ประกอบการต่างชาติไม่สามารถเป็นผู้จัดจำหน่ายเองได้ต้องทำการค้าผ่านตัวแทน (distributor) หรือสินค้าอย่าง ข้าว ที่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ออกกฎระเบียบในเชิงผูกขาดการนำเข้า โดยหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น

ที่มา :http://www.bangkokbanksme.com/

124.120.152.56

Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com