Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

  FinTech มาแล้ว! (893 อ่าน)

15 พ.ค. 2560 03:12



ธุรกิจ e-Commerce และ Startup ร่วมพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร ด้าน ธปท. ยันระบบพร้อมเพย์ปลอดภัยไร้กังวล

ประเทศไทย 4.0 นับเป็นวาระแห่งชาติ (Nation Agenda) ที่วางเป้าหมายไว้ระยะยาว เพื่อนำพาประเทศไทยเข้าสู่โครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) จากแรงผลักดันของกระแสโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในระดับตลาดการค้าเสรีของโลก โดยส่งเสริมทั้งด้านความรู้จากกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งการจัดอบรมสัมมนา จัดมหกรรมประเทศไทย 4.0 ที่ศูนย์สิริกิติ์ ความตื่นตัวในการแก้กฎหมายเพื่อรองรับโครงสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล การกำเนิดขึ้นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พัฒนาระบบพร้อมเพย์บุคคลธรรมดา และพร้อมเพย์นิติบุคคล

จากปัจจัยข้างต้นจะสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงได้ในภาคธุรกิจ 3.0 ของไทยที่เริ่มลงทุนกับไอทีและนวัตกรรมเข้ามาในกระบวนการจัดการผลิตและบริหาร รวมถึงแม้กระทั่งในระบบการขาย หลายบริษัทได้เริ่มพัฒนา ระบบปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์เพื่อนำมาใช้แทนมนุษย์ในอนาคตมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคการเงินธนาคาร และค้าปลีก เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ไม่ใช่เพียงแต่ภาคธุรกิจดั้งเดิมเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงธุรกิจเกิดขึ้นใหม่ อย่าง Startup ที่พัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่ม Millennial Generation ซึ่งจะขยับขึ้นเป็นผู้นำกระแสในตลาดหลักของอนาคต รวมถึงธุรกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วอย่างค้าปลีกในรูปแบบ e-Commerce ซึ่งภาคธุรกิจนี้แทบจะเป็นแรงกระตุ้นหลักในการพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์อย่างแท้จริง

คุณวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังกล่าวถึงประเด็นการบริการด้านไฟแนนเชียล เทคโนโลยี (Financial Technology หรือ Fin Tech) ภายในงาน ‘Positioning Thailand’s FinTech Ecosystem’ ว่า การเริ่มต้นของระบบพร้อมเพย์จะสนับสนุนให้ธุรกิจสามารถต่อยอดและพัฒนาบริการได้มากขึ้น ทั้งระบบพร้อมเพย์, ATM, Mobile Banking, ตู้เติมเงินโทรศัพท์, แอปพลิเคชันด้านหุ้นและทองคำ ฯลฯ ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการสามารถใช้บริการทางการเงินได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน

อย่างที่กล่าวไปพร้อมเพย์จะเข้ามาช่วยเรื่องธุรกรรมทางการเงินเพื่อสร้างความพร้อมให้กับผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ในการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และเป็นหนึ่งในบริการด้าน Fin Tech สำหรับธุรกิจที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้กับการบริการธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ซึ่งธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ก็ได้มีบริการธนาคารกรุงเทพบิซพร้อมเพย์ เพื่อรองรับและสนับสนุนภาคธุรกิจให้ก้าวไกลสู่ยุคดิจิทัล

เมื่อลูกค้านิติบุคคลที่ลงทะเบียนผ่านบริการธนาคารกรุงเทพบิซพร้อมเพย์ จะสามารถรับชำระค่าสินค้า/บริการจากนิติบุคคลด้วยกัน และรับเงินโอนจากบุคคลเพื่อชำระค่าสินค้า/บริการ รวมทั้งรับเงินจ่ายคืนภาษีจากภาครัฐหรือ รับโอนเงินค่าสินค้า/บริการที่บริษัทขายให้กับภาครัฐ

การบริการดังกล่าวยังเป็นการช่วยลดต้นทุนและภาระการรับเงินสดและเช็ค ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งทางด้านผู้รับเงินและผู้โอนเงินถูกลง และสามารถตรวจสอบข้อมูลชื่อผู้โอนที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งโอนเงินให้บริษัทนิติบุคคลพร้อมเพย์ได้จากช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ได้แก่ Corporate iCash และ BIZ iBanking ครอบคลุมกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กลาง เล็ก หรือ e-Commerce

หากผู้ประกอบการที่มีความกังวลว่าระบบพร้อมเพย์จะมีความปลอดภัยหรือไม่นั้น ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังระบุอีกว่า พร้อมเพย์เป็นระบบที่พัฒนาเพิ่มจากระบบโอนเงินที่ใช้อยู่ปัจจุบัน จึงมีความปลอดภัยไม่ด้อยกว่าบริการโอนเงินในปัจจุบัน ธนาคารกับผู้ให้บริการระบบกลางพร้อมเพย์ของประเทศ คือ บริษัท NITMX จึงเป็นระบบปิดที่มีการดูแลรักษาความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล คนภายนอกไม่สามารถต่อเข้ากับระบบนี้ผ่านช่องทาง Internet ทั่วไปได้ และ ธปท. ได้ติดตามดูแลการพัฒนาระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยด้วย

นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมการรองรับในด้านความปลอดภัย รวมถึงการดูแลระบบสารสนเทศ (IT) ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย มาตรฐานความถูกต้อง ความพร้อมใช้ของระบบ การดูแลการเข้าถึงข้อมูล การสำรองข้อมูล และการมีแผนรองรับกรณีฉุกเฉิน

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ใส่ใจให้ในการบริการลูกค้านิติบุคคลด้วยบริการธนาคารกรุงเทพบิซพร้อมเพย์ เพื่อตอบสนองประสิทธิภาพสูงสุดทางธุรกิจครบวงจรในธุรกรรมทางการเงินได้สะดวกรวดเร็วที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนต่ำ ทั้งรองรับเงินและโอนเงินด้วยระบบการบริหารเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะกับทุกองค์กรและธุรกิจทุกขนาด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 1333 กด 162 หรือ 0-2645-5555 กด 162

ที่มา : http://www.bangkokbanksme.com

110.169.68.202

Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com