Admin_support
chalermphol@qmlcorp.com
Startup Beyond 2017 (538 อ่าน)
2 ต.ค. 2560 15:51
สตาร์ทอัพ หมายถึง ผู้เริ่มธุรกิจใหม่ เป็นกิจการที่ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจใหม่ ที่ทำซ้ำได้ (Repeatable) และขยายตัวได้ (Scalable) ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในรูปแบบดั้งเดิม
ในยุคที่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ธุรกิจไทยจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถเติบโตรับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืน โดยการยกระดับและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ดังนั้น รัฐบาลจึงมุ่งส่งเสริม สตาร์ทอัพ Startup ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่จะก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยกำหนดบทบาทสำคัญให้สตาร์ทอัพเป็น New Economic Worriors หรือนักรบเศรษฐกิจใหม่
สตาร์ทอัพ หมายถึง ผู้เริ่มธุรกิจใหม่ เป็นกิจการที่ตั้งขึ้นเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจใหม่ ที่ทำซ้ำได้ (Repeatable) และขยายตัวได้ (Scalable) ซึ่งจะแตกต่างไปจากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในรูปแบบดั้งเดิม ยกตัวอย่างสตาร์ทอัพที่เป็นที่รู้จัก เช่น Fackebook, GRAB, UBER เป็นต้น (www.startup.su.ac.th, 2560) จึงอาจจะกล่าวได้ว่า ทุกสตาร์ทอัพเป็นเอสเอ็มอี แต่ทุกเอสเอ็มอีไม่ใช่สตาร์ทอัพ (ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี, 2559
การแบ่งประเภทสตาร์ทอัพ สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ โดยหากแบ่งตามสาขาธุรกิจ อาจจะแบ่งเป็น สตาร์ทอัพด้านการเงิน ด้านการเกษตร ด้านสุขภาพ เป็นต้น
หรืออาจจะแบ่งตามลักษณะของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น
1) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แล้วในปัจจุบัน หรือพัฒนาขึ้นมาใหม่ เพื่อนำไปใช้ในตลาดใหม่ที่ยังไม่เกิดขึ้น
2) กลุ่มที่พัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่ เพื่อนำไปใช้ในตลาดเดิม
3) กลุ่มที่นำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วนำไปใช้สร้างความต้องการให้กับตลาดที่ยังไม่เกิด
4) กลุ่มที่มีเทคโนโลยีอยู่แล้ว นำไปใช้กับตลาดที่มีอยู่เดิม (เรวัต ตันตยานนท์ : 2560)
@ ที่มาที่ไป สตาร์ทอัพไทย
คุณวัชระ เอมวัฒน์ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Tech startup) เล่าว่า สตาร์ทอัพในไทยเริ่มขึ้นเมื่อ 7 ปีก่อน โดยจะสามารถแบ่งเป็นยุคการพัฒนาได้เป็น 3 ยุค คือ
ปี 2011-2012
มีคนพูดถึงมาก เรามีเฟซบุ๊ก, กูเกิ้ล มีสตาร์ทอัพไทยถือจุดกำเนิดขึ้น ประมาณไม่ถึง 10 ราย
ปี 2013-2014
เริ่มมีการพูดถึง Block Building ซึ่งในช่วงเวลานั้นผ่านมา 2-3 ปี มีจำนวน 70 ราย เม็ดเงินลงทุนในกลุ่มธุรกิจนี้ประมาณ 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการจ้างงานในธุรกิจ 5,000 คน มีจำนวน Accelerator มากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของสมาค
ปี 2016-2017
เป็นยุคที่เรียกว่า Talk of the Town คำว่า สตาร์ทอัพ เริ่มถูกพูดถึงในหลายสื่อมากขึ้น ถือเป็นยุคเฟื่องฟูมาก องค์กรภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและองค์กรต่างๆ เริ่มหันมาสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีมากขึ้น มีจำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพ เพิ่มขึ้นจาก ปี 2016 ปีเดียวมีการลงทุนมากถึง 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มากกว่า 3 ปีที่ผ่านมา
@ ทิศทางสตาร์ทอัพ ปี 2017
เมื่อถึงปี 2017 ทางสมาคมฯ ได้สำรวจผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ 175 ราย จะเห็นว่ามีการเติบโตมาก ประเภทธุรกิจสตาร์ทอัพยอดนิยม 5 กลุ่มหลัก ได้แก่ ไลฟ์สไตล์ บริการทั่วไป เทคโนโลยีด้านการเงิน (ฟินเทค)การท่องเที่ยว และ อีคอมเมิร์ซ
ผู้ร่วมก่อตั้งมีอายุเฉลี่ยเพียง 34 ปี มีเงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นทุนส่วนตัว ประมาณ 1 ล้านบาท และมีแหล่งทุนจาก Accelerator และทุนจากภาครัฐ เริ่มเข้ามาเสริม และหากเปรียบเทียบการเติบโตของของรายได้เฉลี่ยในปี 2560 เฉลี่ย 45% เทียบกับปีก่อนหน้า
ในจำนวนนี้ 69% สร้างรายได้ ใน 1 ปี ซึ่งปัจจุบันมีสร้างรายได้แล้ว และมี 23% ที่เริ่มทำกำไรแล้ว และที่สำคัญสตาร์ทอัพยังมีส่วนสร้างงาน ได้
อย่างไรก็ตาม ส่วนที่สตาร์ทอัพยังขาด คือ เรื่องสิทธิบัตรของนวัตกรรมต่างๆ ปัจจุบันสตาร์ทอัพมีสิทธิบัตร 11% ไม่มีสิทธิบัตร 89% มีอนุสิทธิบัตร 5% ไม่มีอนุสิทธิบัตร 95% ดังนั้น สมาคมฯ จึงเห็นด้วยที่มีการสนับสนุนการทำสิทธิบัตร และปัญหาเรื่องการทำบัญชี ยังไม่มากนัก และขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี, นักการตลาด, ผู้จัดการด้านบัญชี และฝ่ายขาย เป็นต้น การสร้างนักศึกษา หรือบุคคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมเป็นเรื่องสำคัญ
ผ่านครึ่งปีแรกของปี 2560 มียอดการลงทุนมากกว่าปีที่แล้วทั้งปี การเติบโตจุดนี้ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น เช่น Agriculture Tech (AgTIA), Health Tech, FinTech มากกว่า 2-3 ปีที่แล้ว เพราะอุตสาหกรรมต่างๆ หันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น และสร้างเทคโนโลยีจากความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม มีจำนวนกองทุน (Corporate Venture Capital : CVC ) มากขึ้น ถือเป็นแนวทางที่ดี เพราะมีองค์กรเหล่านี้มีส่วนช่วยให้สตาร์ทอัพ เข้มแข็งและเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ และที่สำคัญภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมสตาร์ทอัพในด้านต่างๆ รวมถึงการแก้ไขกฎหมายเพื่อดึงเม็ดเงินทุน
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญ สตาร์ทอัพต้องการให้มีการส่งเสริมการใช้สินค้าและบริการจาก สตาร์ทอัพ มากขึ้น สร้างตลาดให้ใหญ่มากขึ้น จะทำให้เติบโตได้จริง
ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com
58.11.35.141
Admin_support
ผู้ดูแล
chalermphol@qmlcorp.com