Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

  แจ็ค หม่า โดนจวกยับ SMEs VOICE (317 อ่าน)

30 เม.ย 2561 03:39



จากประเด็นร้อนเมื่อไม่นานนี้ แจ็ค หม่า ประธานบริหารกลุ่มอาลีบาบา ได้เดินทางมาไทย เพื่อ MOU ด้านการลงทุนในประเทศไทยกว่า 4 ฉบับ พร้อมกันนั้นยังได้เปิดให้มีการซื้อขาย ทุเรียนไทย ทางออนไลน์ผ่าน www.tmall.com เว็บค้าปลีกยอดฮิตอันดับต้นๆของจีน โดยสามารถทำยอดขายได้กว่า 80,000 ลูกใน 1 นาที

จากนั้น SMART SME จึงทำการสำรวจความคิดเห็นถึงผลไม้ชนิดไหนที่จะถูก แจ็ค หม่า ดันต่อ ในคอมเมนท์พบว่า

อันดับ 1 คือมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ไทย 60%

อันดับ 2 ลำไย 16%

อันดับ 3 ซึ่งไม่เกี่ยวกับผลไม้เลยคือ ยางพารา 15%

อันดับ 4 มะม่วง 5%

อันดับ 5 คือกล้วยและข้าวอย่างละ 2%

โดยการเยือนไทยของ แจ็ค หม่า ครั้งนี้ มีทั้งเสียงสะท้อนที่ชื่นชมและโจมตี ทางรายการ SME VOICE จึงได้ตั้งประเด็น ทุเรียนไทย ไม่ขายจีน จะขายใคร

การที่เราต้องขายให้กับจีนก็เพราะจีนเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่นิยมบริโภคผลไทย ซึ่งทุเรียนไทยปีนี้มีผลผลิตถึง 760,000 ตัน การที่ตลาดจีนรองรับผลผลิตถือเป็นโอกาสสำคัญของเกษตรกรไทย ที่จะสามารถส่งออกทุเรียนในราคาสูง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น สำหรับห่วงโซ่การค้าทุเรียน ที่เป็นประเด็นอยู่ ณ ขณะนี้ มี 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

เกษตรกรผู้ผลิต ทุเรียนไทย

จากการโฟนอินสัมภาษณ์ คุณพรทิพย์ ศิริเจริญธรรม เจ้าของสวนภูทิพย์ธารา อำเภอ ขลุง จันทบุรี สวนทุเรียนหมอนทองที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาชม ชิม ช้อป แช้ะ กล่าวว่าตนรู้สึกยินดีมากที่ แจ็ค หม่า เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรไทย ทำให้ความต้องการ ทุเรียนไทย สูงขึ้น ขณะนี้ราคาทุเรียนที่ขายหน้าสวนเพิ่มเป็น 120 บาท เมื่อใกล้ถึงช่วงเก็บผลผลิตก็จะมีล้งหรือพ่อค้าคนกลางเข้ามาดู

จันทบุรีเป็นแหล่งปลูกทุเรียนที่มีล้งจีนเข้ามาจับจองผลผลิตมากที่สุด ซึ่งผลผลิตคุณภาพดีที่สุด 15% จะถูกจำหน่ายให้ล้งจีนนำไปขายต่อในจีน ส่วนอีกเกรดที่เหลือ 85% ก็จะถูกขายในบ้านเรา เมื่อถามต่อว่า ล้งไทย ไปไหนหมด คุณพรทิพย์ เล่าว่า การที่ไม่ค่อยมีล้งไทยในเวลานี้ เนื่องจากสู้ทุนของล้งจีนไม่ได้ และส่วนหนึ่งคือล้งจีนค่อนข้างเก่งเรื่องการตลาด ทำให้เกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น

ผู้รับซื้อหรือล้ง

ในอดีตล้งที่รับซื้อทุนเรียนส่วนใหญ่เป็นคนไทยในท้องถิ่น และมักเป็นผู้มีอิทธิพลหรือกว้างขวางในพื้นที่นั้นๆ โดยจะมีการเจรจาขอซื้อที่หน้าสวน มีลูกเล่นในการกำหนดราคาและสามารถซื้อก่อนจ่ายทีหลังได้ ซึ่งแตกต่างจากล้งจีน ที่ไม่กดเกษตรกร เพราะหลังจากทำการตกลงเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะให้เงินมัดจำก่อน 50% และมีมาตรฐานการให้ผลตอบแทนสูง จนสามารถชนะใจเกษตรกรไทยได้ และสุดท้ายล้งไทยก็ต้องมาร้องเรียนในที่สุด

จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่ามีล้งจีนในไทยทั้งสิ้น 1,090 ราย คิดเป็นการรับซื้อลำไย 473 ราย ทุเรียน 556 รายและมังคุด 65 ราย ซึ่งล้งไทยต้องเร่งปรับตัว และให้ผลตอบแทนที่ win-win กับชาวสวน ส่วนเรื่องที่มีคนกลัวว่าล้งจีนจะเข้ามาจำนวนมาก กระกรวงเกษตรก็มีการจัดระบบอยู่ โดยกำหนดให้ล้งต่างด้าวต้องไปขึ้นทะเบียนอย่างถูกกฎหมาย อย่างช่วงเวลานี้ที่มีล้งแพร่ระบาดในภาคตะวันออก ก็อยากให้กระทรวงเกษตรเข้าไปสำรวจพื้นที่

เว็บไซต์ ทีมอลล์ดอทคอม

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมบ้านเราทำเว็บไซท์อย่างทีมอลล์ไม่ได้ ต้องอธิบายว่า ทีมอลล์ดอทคอม ภายใต้กลุ่มอาลีบาบา มีความพร้อมต่อการสนับสนุนสินค้าเกษตรไทยมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นระบบโลจิสติกส์ ออนไลน์แพลตฟอร์ม หรือแม้แต่การตลาด ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวจีน ความน่าเป็นห่วงที่ตามมาต่อจากนี้ คือคนไทยจะแห่ไปปลูกทุเรียนมากขึ้น เพราะคิดว่าเป็นสินค้าเกษตรที่ได้ราคาดี มีตลาดรองรับ ซึ่งอยากให้คนที่ต้องการปลูกจริงๆไปศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย รวมไปถึงกรรมวิธีการดูแลรักษาอย่างละเอียดก่อน นอกจากนั้นก็ควรมองโอกาสจากการนำทุเรียนไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆด้วย

ที่มา : https://www.smartsme.co.th

110.171.24.68

Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com