Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

  ไทยเร่งพัฒนาสมรรถนะเฉพาะด้าน SME (527 อ่าน)

22 ก.ค. 2561 01:19





รมว.กระทรวงอุตฯ แจงความพร้อมประเทศ เร่งพัฒนาสมรรถนะเฉพาะด้าน SME และ Startup จัดสิทธิประโยชน์พิเศษใหม่ๆ ชักชวนเอกชนญี่ปุ่นเข้าร่วม EEC ตั้งเป้าดึงนักธุรกิจยุ่นลงทุนในไทย 10,000 ราย

ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในการบรรยายพิเศษ เรื่อง การขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ Thailand 4.0 และเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในงานสัมมนาการลงทุน Thailand Taking off to New Heights ซึ่งมีนักลงทุนและผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นเกือบ 800 ราย เข้าร่วมรับฟัง ณ เมืองนาโกยา จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น ว่า รัฐบาลไทยกำลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 เพื่อการปฏิรูปประเทศ มีการกำหนดกลไกการขับเคลื่อนในด้านเศรษฐกิจ คือ 1. การยกระดับด้านโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่ของประเทศ เพื่อกระจายความเจริญและการสร้างโอกาสให้ทั่วถึงในพื้นที่ต่างๆ

2.การปฏิรูปเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เน้นเทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม พร้อมกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย 11 กลุ่ม

3.การพัฒนาคนให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 เร่งพัฒนาสมรรถนะเฉพาะด้านของเอสเอ็มอีและ Startup ควบคู่กับการพัฒนาทักษะ

และ 4.โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่เป็นโครงการสำคัญที่สุดโครงการหนึ่งของรัฐบาล

ทั้งนี้ อีอีซีถือเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาดใหญ่ มีนวัตกรรมที่ก้าวหน้าที่สุดของไทย โดยเชื่อมั่นว่าอีอีซีจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีบทบาทสำคัญและมีการเติบโตมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย เนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางของคาบสมุทรอินโดจีนและภูมิภาคอาเซียน และโครงการอีอีซีไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อประโยชน์ของประเทศไทยเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV กลุ่มอาเซียน และกลุ่มประเทศแถบแปซิฟิก

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้จัดสิทธิประโยชน์พิเศษใหม่ๆ แก่นักธุรกิจที่ลงทุนในโครงการอีอีซี เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการวิจัยพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยคาดว่าการลงทุนในพื้นที่อีอีซีจะสูงถึง 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายใน 5 ปี

และขณะนี้ประเทศไทยมีการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ และการออกมาตรการใหม่ๆ เช่น การปรับปรุงกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันจากการหารือกับนักธุรกิจญี่ปุ่น เชื่อว่ประเทศไทยจะได้ต้อนรับนักธุรกิจญี่ปุ่นรายใหม่ จากเดิมที่มีนักธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งประกอบธุรกิจในไทยประมาณ 7,000 ราย ให้เพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นราย เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการลงทุนสูงที่สุดของไทย เป็นมิตรประเทศที่ดีของไทยในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ซึ่งไทยกับญี่ปุ่นมีความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ที่มีผลบังคับใช้มาแล้วจนครบ 10 ปี ส่งผลให้ในปี 2560 ที่ผ่านมา ไทย-ญี่ปุ่นมีการค้าระหว่างกันถึง 54,350 ล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นภายใต้กรอบความร่วมมือพัฒนา Thailand 4.0 ด้วย ดังนั้นจึงขอเชิญให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นใช้โอกาสที่ประเทศไทยกำลังสร้างโอกาสใหม่ๆ สำหรับนักลงทุนไทยและญี่ปุ่นให้เต็มที่ในปัจจุบันนี้

ที่มา : https://www.smartsme.co.th

61.90.5.95

Admin_support

Admin_support

ผู้ดูแล

chalermphol@qmlcorp.com

ตอบกระทู้
CAPTCHA Image
Powered by MakeWebEasy.com