จับตา 6 เทรนด์พัฒนาแอปพลิเคชันแบบมืออาชีพในปี 2017

Last updated: 16 ม.ค. 2560  |  2033 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จับตา 6 เทรนด์พัฒนาแอปพลิเคชันแบบมืออาชีพในปี 2017

วันนี้แอปฯไม่ได้ถูกพัฒนาเพื่อสมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียว แต่มีไว้สำหรับอุปกรณ์สวมใส่ บ้านอัจฉริยะ รถอัจฉริยะ ดีไวซ์ที่เชื่อมกับอินเตอร์เน็ต และอีกสารพัด ในปีหน้าโอกาสสำหรับผู้ประกกอบการและผู้บริโภคจะรออยู่ข้างหน้ามากมาย แอปฯและบริการที่พึ่งระบบคลาวด์มีบทบาทมากขึ้นในปี 2016 ความสามารถในการแชร์และซิงค์ข้อมูลทันทีกับเซิฟเอร์และอุปกรณ์อื่นๆจะทำให้เกิดนวัตกรรมอีกนานัปการ

ฉะนั้น ถึงเวลาที่เราจะมองไปข้างหน้า นี่คือ 6 เทรนด์พัฒนาแอปฯมือถือสำคัญๆที่ต้องจับตาในปี 2017

1. บริการที่พึ่งระบบตำแหน่งจะยังได้รับความนิยมอยู่
GPS ที่ใช้กันง่ายๆและมีอยู่ทั่วไปในมือถือทำให้บริการที่พึ่งระบบตำแหน่ง หรือ Location-Based Services (LBS) ก้าวหน้ามากขึ้นจนสามารถให้ข้อมูลผู้ใช้งานแบบทันทีเรียลไทม์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งที่อยู่ต่างๆ พื้นที่สำคัญหลายๆแห่งที่ LBS สามารถให้บริการได้ก็จะถูกระบุในแผนที่เพื่อเป็นช่องทางการจ่ายเงิน แถมมีฟีเจอร์ที่รักษาความปลอดภัยและการควบคุมการใช้งานเพื่อบริการท่องเที่ยวอีกด้วย

เร็วๆนี้บริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่ก็ได้ซื้อพื้นที่สำหรับ LBS ทำให้เทคโนโลยีของ Beacon ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ บริการที่ต้องใช้ระบบระบุตำแหน่งกินแบตเตอรี่ของสมาร์ทดีไวซ์ ทำให้ต้องพัฒนาระบบนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเช่นกัน

2. Augmented Reality (AR) จะรวมอยู่ในแอปฯเพื่อประโยชน์ใช้สอย
แอปฯที่ใช้ Augmented Reality (AR) ถูกมองว่าเป็นแค่ลูกเล่นหรือเป็นเครื่องมือไว้โปรโมทสิ่งต่างๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป แอปฯที่ใช้ AR ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีอุปกรณ์สวมใส่ให้เราได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น AR ก็ถูกใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ผู้ใช้งานจำข้อความในแอปฯได้ง่าย หากใครส่งวีดีโอ ข้อความ หรือข้อความเสียง ไอเท็มที่เกี่ยวข้องก็จะปรากฎให้เห็นทันทีเช่นกัน

ยกตัวอย่างเช่น หากมือถือของเราตรวจจับคำว่า “Cab” ได้ ก็จะเรียกแอปฯได้ทันที หรือถ้าตรวจจับคำว่า “Coffee” มือถือก็จะเปิดปฏิทินเพื่อให้เราตั้งกำหนดการไว้ และความเป็นไปได้อีกมากมายเช่น การซิงค์กับสื่อสังคมออนไลน์ การติดตามตำแหน่งที่อยู่ และลิงค์สินค้าบริการ

3. แอปฯแอนดรอยที่เรียกใช้งานได้ทันใจจะเป็นเรื่องปรกติ
Google เพิ่งประกาศฟีเจอร์ที่ทำให้แอปฯแอนดรอยใช้งานได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาดาวน์โหลดหรือติดตั้ง แค่แตะ แอปฯพวกนี้ก็ทำงานได้ทันที

แนวคิด “ทำงานได้ทันทีที่ต้องการ” จะเปลี่ยนเกมในวงการแอปฯ

เราสามารถค้นหาคำที่ต้องการ จากนั้นก็จะมีแอปฯปรากฎขึ้นมาและทำงานทันที ไม่ต้องดาวน์โหลด ไม่ต้องติดตั้ง ไม่ต้องใช้พื้นที่ความจำในสมาร์ทโฟน แอปฯพวกนี้ในเวอร์ชั้นก่อนๆจะไม่มีฟีเจอร์ล้ำๆ แต่ก็เพียงพอที่จะให้เราเข้าใจและได้ประสบการณ์ที่ดีได้

4. การฝังปัญญาประดิษฐ์ในแอปฯกลายเป็นเรื่องมาตารฐานที่ต้องทำ
ลองจินตนาการถึงภาพที่เปลี่ยนไปตามอารมณ์ความรู้สึกของเราหรือสถานการณ์สิ มีนักพัฒนาหลายคนที่กำลังสร้าง Machine Learning และปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ขณะที่เราสามารถสร้างตัวฟิลเตอร์รูปภาพได้ง่ายๆ นักพัฒนาสามารถหาทางใหม่ๆให้แอปฯเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองจนสามารถปรับหน้าจอตามรสนิยมความชอบของผู้ใช้งานและข้อมูลตามตำแหน่งได้

บริการเหล่านี้จะเปลี่ยนจากการใช้ข้อมูลเปลี่ยนศูนย์กลางเป็นการใช้ดีไวซ์ในชีวิตประจำวันเช่นกล้อง มือถือ และดีไวซ์ที่พึ่งอินเตอร์เน็ต

5. การรวมแอปฯสำหรับ Internet of Things (IoT) เป็นเรื่องที่ยังไม่ถูกท้าทายมาก
อุตสาหกรรม IoT ที่กำลังมาแรงขึ้นเรื่อยๆในตอนนี้ บริษัทที่ให้บริการด้านสุขภาพ การศึกษา ความปลอดภัย บ้านอัจฉริยะ ยานพาหนะ และอีกมากมาย ก็เตรียมรอที่จะพัฒนาให้เข้ากับความก้าวหน้าของ IoT

ทำให้แอปฯที่เกี่ยวข้องกับ IoT ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กันในปี 2017device-array-ads-10001

สำหรับนักพัฒนาแล้ว การรวมดีไวซ์เข้ากับ IoT นั้นจะต้องให้แพลตฟอร์มที่ซับซ้อนและต้องมีระบบหลังบ้านและโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้การติดต่อสื่อสารและการแชร์ข้อมูลระหว่างดีไวซ์เป็นเรื่องสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากข้อมูลทั้งหมดที่ถูกเก็บและแชร์จะต้องเข้าถึงง่ายและประหยัด

6. ความปลอดภัยของแอปฯกลายเป็นเรื่องสำคัญมากกว่ายุคก่อนๆ
เพราะข้อมูลของผู้ใช้งานที่ละเอียดอ่อนและปริมาณเยอะในสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะข้อมูลการติดต่อและบัญชีผู้ใช้งาน ทำให้ความปลอดภัยของสมาร์ทโฟนเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าแต่ก่อน แต่ที่น่าแปลกใจคือ หลายๆคนกลับไม่ให้ความสำคัญจริงๆจังๆกับความปลอดภัยที่ว่านี้เลย แต่นักพัฒนาต้องไม่ละเลยเรื่องนี้ แอปฯที่มีระบบความปลอดภัยติดตั้งไว้จะทำให้แอปฯแตกต่างจากแอปฯอื่นๆได้ ความปลอดภับกลายเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ในระดับ API หรืออย่างน้องก็ต้องมีโค้ดเข้าถึงแอปฯ

ยิ่งไปกว่านั้น การเขียนโค้ดสำหรับระบบ iOS ของ Apple ไม่ได้ใช้ Objective C แต่ต้องใช้โปรแกรมภาษาของ Apple เอง นักพัฒนาต้องหันมาใช้แพลตฟอร์มนี้ และนี่จะเป็นตัวเปลี่ยนเกมสำหรัยนักพัฒฯหลายๆคน เพราะความสามารถของการเขียนโค้ตสำหรับระบบ iOS ให้ประสบการณ์การใช้งานและฟีเจอร์ได้ดีกว่าด้วย

การให้ประสบการณ์การใช้งานที่ลื่นไหลใช้ง่ายและพิเศษเป็นจุดสำคัญทำให้แอปฯประสบความสำเร็จ ทักษะการออกแบบและการเข้าใจผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆสำหรับนักพัฒนาแอปฯมืออาชีพ และเป็นหัวใจหลักสำหรับหลายๆเทรนด์ สื่อ รูปภาพ วีดีโอ และข้อความเสียงที่มีมากพอทำให้แอปฯมีคุณภาพมากขึ้นและน่าจดจำมากกว่า

แหล่งที่มา
https://www.techinasia.com/talk/top-6-trends-watch-mobile-app-development-2017

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Call to Action

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com