สิงคโปร์…ลู่ทางของ SME ไทยสู่ตลาดโลก

Last updated: 24 ก.พ. 2560  |  3772 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สิงคโปร์…ลู่ทางของ SME ไทยสู่ตลาดโลก

อาทิ สินค้าอาหารประเภท ข้าว ผัก ผลไม้ อาหารกระป๋องและอาหารกึ่งสำเร็จรูปต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสินค้าประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ โดยสินค้าที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทยนั้น นอกจากจะใช้บริโภคภายในประเทศแล้ว ยังมีการส่งออกไปประเทศอื่นๆ (re-export) อีกด้วย

สำหรับผู้ประกอบการไทย โอกาสทางธุรกิจในสิงคโปร์ถือว่าเป็นอันดับหนึ่งของโลก เพราะมีกลยุทธ์ส่งเสริมการขาย เพื่อการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รวมไปถึงเรื่องของสิ่งแวดล้อมในการลงทุน ดินแดนลอดช่องแห่งนี้ก็ครองอันดับหนึ่งของโลกในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการลงทุน ทั้งกายภาพและระบบดิจิตอล สิงคโปร์ยังครองอันดับ 1 ของโลกในด้านประเทศที่ง่ายต่อการลงทุน เช่นเดียวกับแรงงานที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นอันดับ 1 ในด้านการวัดมูลค่าประสิทธิภาพของแรงงาน และที่สำคัญยังเป็นประเทศที่มีความโปร่งใสมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก และเป็นประเทศที่มีการคอรัปชั่นน้อยที่สุดในเอเชีย

นโยบายการค้าเสรี เอื้อต่อผู้ประกอบการ SME และนักลงทุนต่างชาติ

เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีนโยบายการค้าเสรี จึงไม่มีนโยบายกีดกันทางการค้ากับนักลงทุนจากต่างชาติ ชาวต่างชาติจึงสามารถถือหุ้นได้ 100% กฎระเบียบต่างๆ ก็เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติอย่างมาก เช่น ไม่มีการกำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำนักลงทุนต่างชาติ สามารถโอนเงินตราต่างประเทศและผลกำไรกลับประเทศได้อย่างเสรี หลังจากที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว เป็นต้น นอกจากนั้นกฎหมายของสิงคโปร์ยังมีความเข้มงวดและชัดเจนโดยเฉพาะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับบริษัท SME สิงคโปร์มีหน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore) ซึ่งรับผิดชอบในการส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา SME ในสิงคโปร์ให้สามารถขยายตัวไปสู่ตลาดโลกได้ ถึงแม้ว่า IE Singapore ไม่ได้มีนโยบายช่วยเหลือหรือสนับสนุนบริษัท SME จากต่างประเทศโดยตรงแต่ก็มีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในประเทศ และพยายามส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางของ SME ในภูมิภาค

สำหรับโอกาสของสินค้าไทยนั้น เนื่องจากมีสินค้าไทยหลายรายการได้รับการยอมรับอย่างมากทั้งในสิงคโปร์และในหลายประเทศทั่วโลก เช่น สินค้าประเภทอาหารและผลไม้ ทำให้ยังมีโอกาสแข่งขันอีกมากอาหารไทยนั้นได้รับความนิยมมากในสิงคโปร์ ส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมของชาวสิงคโปร์ที่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน รวมถึงการที่บริษัทต่างๆ นิยมจัดเลี้ยงนอกสถานที่ ทำให้ตลาดของร้านอาหารไทยสามารถเติบโตได้เพราะมี demand รองรับ แต่ถึงแม้ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน แต่ก็ยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการความรวดเร็วและความสะดวกในการบริโภคอาหาร เนื่องจากข้อจำกัดทางเวลาและกำลังทรัพย์ เช่น พนักงานออฟฟิศ ซึ่งมีรายได้ไม่มากนัก หรือต้องใช้ชีวิตที่รีบเร่งในแต่ละวัน จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจอาหารในกลุ่ม processed food หรือ ready-to-eat ที่จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นดาวรุ่งในตลาดสิงคโปร์ได้ด้วย

จับตารสนิยมการบริโภคของชาวสิงค์โปร์

สิงคโปร์มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและชาวมาเลเซีย รวมไปถึงชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในสิงคโปร์ ดังนั้น จึงมีรสนิยมการบริโภคคล้ายคลึงกับคนไทยค่อนข้างมาก เนื่องจากประกอบไปด้วยชาวเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับอาหารไทยนั้นเป็นที่นิยม และในส่วนของกำลังซื้อนั้น ผู้บริโภคสิงคโปร์มีกำลังการซื้อค่อนข้างสูง และนิยมบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูง หรือสินค้าแบรนด์เนม ดังนั้น สินค้าที่นำเข้ามาขายในสิงคโปร์จะต้องคำนึงคุณภาพเป็นหลัก ซึ่งรสนิยมและไลฟ์สไตล์แบบตะวันตกจะมีอิทธิพลค่อนข้างมากในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนั้นชาวสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพและนิยมรับประทานอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกาย โดยผู้มีรายได้และมีระดับการศึกษาสูงจะนิยมบริโภคอาหารออร์แกนิกส์มากขึ้น ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไทยจะเข้ามาเจาะตลาดสิงคโปร์ จึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า ที่ต้องดึงดูดผู้บริโภคให้ได้ รวมถึงสินค้าและบริการที่ต้องผสมผสานนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้า และสุดท้ายสินค้าและบริการต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย

ด้วยโครงสร้างทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง และการมีนโยบายการค้าเสรีที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ การลงทุนและดำเนินธุรกิจในสิงคโปร์จึงสามารถทำได้อย่างได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่ได้รับการยอมรับสูงจากนานาชาติ และมีศักยภาพที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต และนอกจากโอกาสการค้าการลงทุนที่เปิดกว้างแล้ว สิงคโปร์ยังเป็นเสมือนประตูที่เปิดให้สินค้าและบริการจาก SME ไทยได้มีโอกาสก้าวสู่ระดับโลกอีกด้วย

ธนาคารกรุงเทพ ใส่ใจให้บริการนักลงทุนในย่านอาเซียนด้วยบริการเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน เรามีสาขาของธนาคารอยู่ในย่านอาเซียน 9 สาขาใน 10 ประเทศเพื่อให้บริการท่าน สนใจติดต่อได้ที่ศูนย์ AEC Connect ชั้น 2 สำนักธุรกิจ ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ อีเมล: AECconnect@bbl.co.th สายด่วน 1333

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com