LAW for start up sme

Last updated: 3 ต.ค. 2560  |  5572 จำนวนผู้เข้าชม  | 

LAW for start up sme


สตาร์ทอัพ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีและเติบโตอย่างรวดเร็ว จากปี 2011 ที่มีเพียง 10 ราย และเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 รายในปี 2017
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อยู่ระหว่างยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น(กฎหมายStartup ) ซึ่งทางกรมฯ ได้ประชุมรับฟังความเห็นไปแล้ว 4 ครั้ง และได้ปรับปรุงร่างแก้ไข เพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ประโยชน์ของกฎหมายสตาร์ทอัพ จะช่วยให้นักลงทุนมีแรงจูงใจในการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพมากขึ้น
เป็นที่ทราบกันดีว่า ‘สตาร์ทอัพ’ เป็นเหมือนนักรบในยุคเศรษฐกิจใหม่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รุกคืบ (Disruptive Technology) เข้ามาอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงต้องมีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาสตาร์ทอัพ เพื่อเสริมเขี้ยวเล็บให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้สามารถเติบโต และแข่งขันได้ในเวทีโลก


@ กฎหมายไม่เอื้อปัญหาหลักของสตาร์ทอัพไทย

ที่ผ่านมาจุดแข็งของสตาร์ทอัพ คือ มีการพัฒนาเทคโนโลยีและเติบโตอย่างรวดเร็ว จากปี 2011 ที่มีเพียง 10 ราย และเพิ่มขึ้นเป็น 1,500 รายในปี 2017 ถือว่ามีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ทว่าอุปสรรคสำคัญของ ‘สตาร์ทอัพ’ คือ กฎระเบียบไม่เอื้ออำนวย ส่งผลให้ไม่สามารถระดมทุนได้ และเกิดปัญหาสมองไหล

‘สุพันธ์ มงคลสุธี’ ประธานกรรมการ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด และประธานกิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากฎหมายของไทยไม่เอื้ออำนวย ส่งผลให้สตาร์ทอัพที่ดีของไทยมักจะถูกสิงคโปร์มาซื้อไป เพราะสิงคโปร์มีความได้เปรียบทั้งด้านกฎหมายและด้านเงินทุน ดังนั้น ถ้าหากมีกลไกกฎหมายรองรับในด้านการจดทะเบียน การลงทุน การหาพันธมิตร การออกหุ้นกู้ การขายหุ้น จะทำให้สตาร์ทอัพเติบโตได้

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาเรื่องกฎหมายควรจะดำเนินควบคู่ไปกับการสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่นการวางระบบบัญชี การสนับสนุนด้าน E-commerce

สอดคล้องกับมุมมองของ ‘ผไท ผดุงถิ่น’ ที่ปรึกษาสมาคม Tech Startup กล่าวว่า ที่ผ่านมา การกำหนดมาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือสตาร์ทอัพ (Quick win) เรื่องลดภาษีก็เป็นสิ่งที่ดี แต่รัฐบาลควรดำเนินการช่วยเหลือตั้งแต่กฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ เทียบเท่ากับหลายๆ ประเทศ เช่นสิงคโปร์ ไม่เช่นนั้นสตาร์ทอัพไทยก็จะเกิดปัญหาสมองไหลไปต่างประเทศหมด

@ บอร์ดสตาร์ทอัพหนุนแก้กฎหมาย

จะเห็นว่า ประเด็นปัญหาเรื่องกฎหมายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกอย่างกว้างขวางมาโดยตลอดเพราะหากไม่แก้ไขจุดนี้ ก็จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาสตาร์ทอัพในระยะยาว

ดังนั้น เมื่อในวันที่ 29 ธันวาคม 2559 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (บอร์ดสตาร์ทอัพ) ซึ่งมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้มีการตั้งคณะทำงาน 4 ชุดขึ้นมา ซึ่งหนึ่งใน 4 คือ คณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น ขึ้นมาดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5 ด้าน

แนวทางการทำงานของ ‘คณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน’ เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น
ในส่วนของการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายธุรกิจนั้น ‘บรรจงจิตต์ อังศุสิงห์’ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อยู่ระหว่างยกร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น(กฎหมายStartup ) ซึ่งขณะนี้ทางกรมฯ ได้จัดประชุมรับฟังความเห็นไปแล้ว 4 ครั้ง และได้ปรับปรุงร่างแกไขกฎหมายเสนอนางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว อยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในลำดับต่อไป

เป้าหมายการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพสามารถระดมทุนเพื่อขยายกิจการสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ โดยแก้ไข 4 ด้าน คือ

1) บริษัทสามารถออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debt : CD) ได้

2) ให้บริษัททยอยให้หุ้นพนักงานได้ ( Revers Vesting)

3) ให้สิทธิผู้บริหารหรือพนักงานที่จะซื้อหุ้นในราคาที่กำหนด (Employee Stock Option Plan :ESOP)

และ 4) การแปลงหุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Shares)

ประโยชน์ที่จะได้รับ กล่าวคือ หากอนุญาตให้ออกหุ้นกู้ได้ จะช่วยช่วยสตาร์ทอัพที่ต้องการขยายกิจการให้สามารถออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนได้ เพราะลักษณะของธุรกิจสตาร์ทอัพต้องการขยายการเติบโตแบบก้าวกระโดดต่างจากเอสเอ็มอีทั่วไปที่ค่อยๆค่อยๆเติบโต กฎหมายนี้จึงเปรียบเสมือนทางลัดในการช่วยสตาร์ทอัพ

อีกทั้ง การเสนอขายหุ้นต่อประชาชน แต่ว่าจะมีลักษณะการออกหุ้นกู้ขาย ‘ให้บุคคลเฉพาะกลุ่ม’ เช่น กรรมการบริหารบริษัทพนักงาน ผู้เชี่ยวชาญ ที่มีค่าตัวสูงสูงที่เข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพแต่ธุรกิจไม่มีเงินจ้างก็สามารถที่จะจ่ายเป็นหุ้นขายเป็นหุ้นให้ คนเหล่านั้นซึ่ง แตกต่างจากบริษัทจำกัดมหาชน (บมจ.) ซึ่งจะขายให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อให้สตาร์ทอัพที่มีทุนไม่มากสามารถดึงคนเก่งมาบริหารจัดการองค์กรสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรได้

ส่วนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แปลง เพื่อให้เป็นทุนเปิดโอกาสให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของตลาดหลักทรัพย์ การเปลี่ยนสิทธิหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญได้ เพื่อจูงใจให้มีการเข้ามาถือหุ้นและ ให้สิทธิ์ เช่นในกรณีที่บริษัทขายหุ้นบุริมสิทธิให้กับพนักงานเมื่อพนักงานซื้อไปแล้วและบริษัทมีอัตราการเติบโตก็สามารถที่จะแปลงหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญได้ เป็นต้น

โดยเบื้องต้น กรมพัฒนาธุรกิจได้เปิดประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นการแก้ไขกฎหมายใน 6 มาตรา ได้แก่ มาตรา 1102, มาตรา 1119, มาตรา 1142, มาตรา 1143, มาตรา 1222 และ มาตรา 1229

‘วัชระ เอมวัฒน์’ นายกสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Tech Startup) กล่าวว่า เห็นด้วยการแก้ไขกฎหมายนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะจะช่วยปรับโครงสร้างพื้นฐานในการประกอบธุรกิจ

ประเด็นที่เสนอให้แก้ไขก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย

1) ESOP หรือการออกหุ้นให้กับพนักงานเพื่อดึงคนเก่งมาทำงานแล้วอาจจะมีสัญญาว่าจะให้หุ้นเมื่อทำงานครบตามกำหนดระยะเวลา ซึ่งปัจจุบันบริษัทจำกัด ไม่สามารถทำได้ไม่มีกฎหมายรองรับ

2) ประเด็น Capital Gain Tax หรือ การยกเว้นภาษีกำไร ซึ่งปัจจุบันหาก Startup ขายกิจการได้กำไร อาจโดนภาษีอัตราสูงสุด 35% เท่ากับว่าทำธุรกิจแล้วไม่ได้อะไรเลย

3) convertible debt การเปิดให้มีการลงเงินเพิ่มทุน เป็นต้น ผลดีจากการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุมสตาร์ทอัพของไทยทั้งหมดหาก

การแก้ไขกฎหมายทั้งหมดนี้สำเร็จจะช่วยให้นักลงทุนมีแรงจูงใจในการลงทุนมากขึ้น ตลอดจนสนับสนุนสตาร์ทอัพกระจายความรู้และสร้างเครือข่ายมากยิ่งขึ้น

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com