หลัการตลาดยุค Digital

Last updated: 24 ต.ค. 2560  |  3457 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลัการตลาดยุค Digital

คำกล่าวที่ว่าใครที่เป็นผู้ครอบครองสื่อไว้ในมือได้ก็เท่ากับว่าผู้นั้นสามารถครอบครองมวลชนได้ ดังจะเห็นว่าทุกครั้งที่มีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นจุดแรกๆ ที่ผู้นำการปฏิวัติเข้ายึดก็คือสถานีสื่อสารควบคุมการนำเสนอข้อมูลข่าวสารสู่มวลชนและนำเสนอข้อมูลในสิ่งที่พวกเขาต้องการให้รับรู้

แต่ในยุคที่มวลชนสามารถครอบครองสื่อไว้กับตัว สื่อไม่ได้ถูกจำกัดโดยกลุ่มคนกลุ่มใดอีกกลุ่มหนึ่งอีกต่อไป นักการตลาดเดิมที่คิดว่าการได้ครอบครองสื่อไว้ในมือมากๆจากสามารถกำหนดทิศทาง ทางการตลาดให้เป็นไปตามสิ่งที่พวกเขาต้องการได้นั้น อาจจะไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป กลุ่มพลังมวลชนจากผู้บริโภคผ่านนิวมีเดียหลากหลายช่องทางต่างหากที่จะกำหนดทิศทาง ทางการตลาดว่าการวางแผนทางการตลาดและกิจกรรมทางการตลาดควรจะดำเนินไปตามทิศทางใด

ดังนั้นนักการตลาดยุคใหม่จะต้องเปลี่ยนจากการเป็นผู้สั่ง เป็นผู้ฟัง และผู้ปฏิบัติการที่ดีที่ตอบสนองความต้องการ พร้อมนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆให้โดนใจผู้บริโภค Mr. Kent Wertime และ Mr. Ian Fenwick จาก www.Digimarketingnow.com
และเป็นผู้เขียนหนังสือ DigiMarketing: The essential Guide to New media & Digital Marketing
ได้ให้แนวคิดหลักการตลาดในยุคดิจิตอลไว้ผมจะมาสรุปให้ฟังสั้นอีกครั้งหนึ่งครับหลัการตลาดยุค Digital แนวคิดจากหนังสือ Digimarketing The essential guide to new media

1 ผู้บริโภค คือ ผู้มีส่วนร่วม ผู้บริโภคไม่ใช่เพียงผู้รับฟังอีกต่อไป นักการตลาดต้องพยายามกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการมีส่วนร่วม (Engagement) ไม่ใช่เพียงแค่การรับรู้ (Awareness)

2 มีส่วนร่วมและโต้ตอบได้ แผนการตลาดดิจิตอลที่สำเร็จจะต้องดึงผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ด้วยสื่อยุคใหม่ทำให้มีการเข้าถึงและระบุตัวตน และเฉพาะเจาะจงได้ (Individuality) ในทางกลับกันผู้บริโภคเองก็สามารถโต้ตอบกับสินค้าเพื่อบ่งบอกพฤติกรรมและรสนิยมของพวกเขา ช่วยต่อเติมคอนเท้นต์เนื้อหาให้ตรงใจพวกเขาได้เองด้วยเช่นกัน

3 เลือกช่องทางให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ สร้างคอนเท้นต์ให้ “เร้าใจ” ดึงดูดให้ผู้บริโภคอยากเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อเติมเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ

4ดิจิตัลคอนเทนต์จะต้องมีความยืดหยุ่น เป็นอิสระ จากข้อจำกัดต่างๆ
ข้อจำกัดด้านเวลา (ช่วงเวลาในการนำเสนอ)
ข้อจำกัดด้านพรหมแดน (พื้นที่ในการนำเสนอ)
ข้อจำกัดด้านขนาด (ขนาดของการนำเสนอ เช่นนำเสนอให้คนทั่วโลก หรือเสนอให้คนเฉพาะกลุ่มปรับแต่งได้)
อิสระด้านรูปแบบ (เช่นต้องเป็นสื่อขนาด 30 วินาที หรือขนาดของป้าย 1 หน้ากระดาษ)
มีอิสระที่ใครๆก็เข้ามาสร้างคอนเท้นต์ ได้อย่างเสรี

5 ผู้บริโภคมักเป็นผู้ริเริ่มและกำหนดทิศทางการตลาด นักการตลาดจึงมีบทบาทในการส่งเสริมและคอยให้รางวัลแก่ผู้บริโภคที่ช่วยสร้างสรรค์คอนเท้นต์ ให้อย่างสม่ำเสมอ

6 การส่งสารสู่ผู้บริโภคควรได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคก่อนเสมอ และคอนเม้นต์ควรเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคสนใจจริงๆ (การใช้ Social network จึงเป็นประโยชน์ในการรับฟังเสียงจผู้ บริโภคว่าต้องการไม่ต้องการแบบใด)

7 นักการตลาดต้องรู้จักและพร้อมทำความเข้าใจในประเภทและลักษณะของสื่อใหม่ๆ ต้องทำความรู้จัก เครื่องมือต่างๆทั้งในการติดตามและประเมินผล และควรมีแผนการติดตามสื่อที่มีผลต่อการชี้นำความคิดด้วยเช่น เว็บไซต์ใด บล็อกใด ที่ต้องควรติดตาม

8 การควบคุมข่าวสารเป็นสื่งที่ทำไม่ได้อีกต่อไป ผู้บริโภคเข้าถึงสื่อต่างๆได้อย่างรวดเร็ว การที่จะเข้าไปควบคุม นักการตลาดต้องปรับตัวเองให้เข้าไปมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในวงสนทนาเพื่อโน้มนำให้รู้สึกร่วม ไม่ใช่การบังคับให้เชื่ออีกต่อไป

9 นักการตลาดต้องใช้แผนที่ซับซ้อนและแยบยลให้ผู้บริโภคที่เข้าถึงสื่อดิจิตอล มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น กับแบรนด์และนอกจากนี้ต้องเปลี่ยนจากการแค่สร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ เป็นส่งเสริมการมีประสบการณ์ดีๆให้เกิดกับลูกค้ารายบุคคล ในยุดดิจิตัลนักการตลาดมีเครื่องมือใหม่ๆที่จะช่วยให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้บริโภคตั้งแต่เริ่มรับรู้จนถึงตัดสินใจซื้อ และการถนอมความสัมพันธ์ กับลูกค้าอย่างแน่นแฟ้น

10 ข้อมูลคือกุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์จากสื่อดิจิตัลเพื่อการทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจงรายบุคคล นักนักตลาดต้องวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปลักษณะเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วย (Profiling of Consumers)

11ต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับแบบเรียลไทม์ เพื่อตัดสินใจอย่างรวดเร็วบนพื้นฐานความเป็นจริง เพื่อปรับปรุงแผนได้อย่างทันท่วงที

12 ด้วยช่องทางการสื่อสารแบบเจาะจงถึงตัว ทำให้ทุกส่วนในการตลาดติดตามและวัดผลได้ ปรับแก้ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีอยู่เสมอการตลาดดิจิตัลจึงมีความน่าเชื่อถือกว่า
การตลาดในยุคดิจิตัลจึงเป็นการตลาดแบบทดลอง การผสมผสานสื่อเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคแบบเฉพาะเจาะจงได้ดีกว่าสื่อแบบแมส การเกิดขึ้นของสื่อใหม่ๆทำให้นักการตลาดต้องตื่นตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเครื่องมือใหม่ๆอยู่เสมอ ทดลองสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้ รับฟัง และ ปรับแก้ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค นักการตลาดดิจิตัลจึงต้องทำความคุ้นเคย คลุกคลีกับสื่อเหล่านั้นจนเข้าใจว่า อะไรคือเครื่องมือที่สำคัญและใช้งานได้มีประสิทธิผลที่สุดกับ วัตถุประสงค์นั้นๆ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com