SME GO INTER 2018

Last updated: 30 เม.ย 2561  |  1764 จำนวนผู้เข้าชม  | 

SME GO INTER 2018

ไขข้อข้องใจ สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้า ต้องทําอย่างไร
ขั้นตอนการส่งออกสินค้า
ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ iso consultant

SME ที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจส่งออกสินค้า มักพบกับอุปสรรคมากมายที่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ทั้งขั้นตอนเตรียมเอกสาร วิธีถ่ายโอนสินค้า ภาษี ขั้นตอนส่งออกซึ่งในแต่ละประเภทสินค้า หรือแต่ละประเทศนั้น จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งเราจะมาแนะนำเทคนิคให้ทราบกัน ดังนี้

ศึกษาข้อมูลและระเบียบส่งออกรายสินค้า/รายประเทศ

แต่ละประเภทสินค้า และแต่ละประเทศนั้น มีขั้นตอนการขออนุญาตที่แตกต่างกัน SME สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ตามหัวข้อด้านล่าง

ระเบียบขั้นตอนการส่งออกรายสินค้า http://ditp.go.th/main.php?filename=rule_goods
ระเบียบขั้นตอนการส่งออกรายประเทศ http://ditp.go.th/main.php?filename=rule
ระเบียบขั้นตอนทางศุลกากร https://goo.gl/BZ1fjj
เช็กพิกัดทางศุลกากร http://tariffeservice.customs.go.th/ITRF/
* เช็กพิกัดทางศุลกากร เพื่อให้ทราบว่าสินค้าที่ส่งออกนั้นเป็นสินค้าควบคุมหรือไม่ โดยหน่วยงานใดของรัฐบาลไทย และมีกฎหมายหรือระเบียบใดที่ควบคุมสินค้านี้อยู่

ขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ได้จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
Call Center โทร.1385

ขอใบรับรองทางด้านความปลอดภัยและมาตรฐานสินค้า เช่น อย. หรือใบรับรอง Health Certificate เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (ที่ปรึกษา iso)
กรมศุลกากร Call Center : 1164

หาผู้ซื้อที่ต่างประเทศ

จัดทำเอกสารเสนอราคา
ตัวอย่างสินค้า
โดยส่วนมาก SME จะหาลูกค้าจากการออกงานแสดงสินค้า โดยสามารถติดตามได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ สสว.
https://goo.gl/AqD7uG

https://goo.gl/q4439r

https://goo.gl/4Em3jg

ทำบัตรผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร (กรณีนิติบุคคล)

การลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบทะเบียนคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง (Passport)
(หากหนังสือรับรองบริษัทระบุให้เอกสารต้องเซ็นมากกว่า 1 คนขึ้นไป ต้องเตรียมมาให้ครบทุกคนนะครับ)

สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์หรือกระแสรายวันหน้าแรก และหน้าเดินบัญชีที่แสดงรายการย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน (มีหรือไม่มีก็ได้)
สำเนา ภ.พ.20
สำเนาหนังสือรับรองบริษัทและวัตถุประสงค์ (ไม่เกิน 6 เดือน)
สำเนา บอจ.3
SME ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกที่เกี่ยวข้องกับการค้า เช่น ข้าว ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกข้าว หรือน้ำตาล ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกน้ำตาล กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น
*สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือสายด่วนกระทรวงพาณิชย์ 1203

*ดาวน์โหลดเอกสารการลงทะเบียน ได้ที่ https://goo.gl/B7KVKz

*ยื่นแบบได้ที่สำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากรทั่วประเทศ

ทำบัตรผู้นำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร (กรณีบุคคลธรรมดา)

การลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกกับกรมศุลกากร
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบทะเบียนคนต่างด้าว/หนังสือเดินทาง (Passport)
สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์หรือกระแสรายวันหน้าแรก และหน้าเดินบัญชีที่แสดงรายการย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน (มีหรือไม่มีก็ได้)
*ดาวน์โหลดเอกสารการลงทะเบียน ได้ที่ https://goo.gl/B7KVKz

*สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (ที่ปรึกษา iso)

สายด่วนกรมการค้าต่างประเทศ 1385 หรือ สายด่วนกระทรวงพาณิชย์ 1203

*ดาวน์โหลดเอกสารการลงทะเบียน ได้ที่ https://goo.gl/B7KVKz

ตกลงกันว่าจะชำระเงินรูปแบบใด

โดยปกติการชำระเงินระหว่างประเทศจะนิยม 2 แบบ คือ การชำระเงินค่าสินค้าโดยตรงด้วยการโอนเงิน Telegraphic Transfer (T/T) และ การชำระเงินค่าสินค้าโดยผ่านธนาคารด้วยการชำระเงินด้วย Letter of credit (L/C)

*หากท่านมีความประสงค์จะใช้บริการนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม (ที่ปรึกษา iso)

กรุณาติดต่อบัวหลวงโฟน โทร.1333 (กด 1-6-2)

หรือติดต่อเจ้าหน้าที่บริการ บิซ ไอแบงก์กิ้ง ทางโทรศัพท์ (66) 0-2626-3994, (66) 0-2626-3514

ติดต่อจองเรือ หรือเครื่องบิน โดยเอกสารที่ผ่านพิธีการศุลกากร มีดังต่อไปนี้

ใบขนสินค้าขาออก
บัญชีราคาสินค้า (Invoice) จำนวนต้องเท่ากับจำนวนใบขนสินค้าขาออกที่ยื่นทั้งหมด
บัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อ (Packing List)
ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading)
ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (License)
ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)
คำร้องขอให้ทำการตรวจสินค้าและบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์
SME สามารถทำเรื่องศุลกากรผ่านได้ 2 แบบ คือ ระบบ Manual และ ระบบ EDI

ระบบ Manual นั้น เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบพิกัด ประเมินราคาสินค้าในกรณีที่ต้องเก็บอากร จากนั้นก็บันทึกเข้าคอมพิวเตอร์ แล้วตรวจปล่อยสินค้า นำของออกจากการท่าเรือ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการศุลกากร

ระบบ EDI ผู้ส่งออกต้องลงทะเบียนเป็นผู้ใช้ระบบ EDI ล่วงหน้า ภายใต้ระบบนี้ ผู้ส่งออกจะบันทึกข้อมูลใน Invoice และใบขนสินค้าออกในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกเอง แล้วส่งข้อมูลเข้าไปที่กรมศุลกากร เมื่อกรมศุลกากรตรวจสอบถูกต้องแล้วก็จะแจ้งวันเวลาที่จะต้องมาจ่ายเงินค่าธรรมเนียม จากนั้นก็ตรวจปล่อยสินค้าลงเรือเป็นอันเสร็จสิ้นพิธีการศุลกากร

*ผู้ส่งออกแนบเอกสารการส่งออกและใบรับรองทุกอย่างไปพร้อมกับสินค้า

ทีมา : https://www.bangkokbanksme.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com