BOI ติดปีกเอกชนไทย

Last updated: 19 ก.ย. 2559  |  1149 จำนวนผู้เข้าชม  | 

BOI ติดปีกเอกชนไทย

“BOI ติดปีกเอกชนไทย เติบโตก้าวไกลในเวทีโลก”

ภายใต้รูปแบบการค้า การลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยจำเป็นต้องมี New Chapter of Trade & Investment

จะเห็นว่าในปีที่ผ่านมา GDP โลกมีอัตราสูงประมาณ 3 % แต่มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ หรือ“International Trade” กลับลดลงอย่างมีนัย โดยมีอัตราการเติบโตติดลบถึง 13% บ่งชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในต่างประเทศมีความจำเป็นอยู่ไม่น้อย

จากยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ที่เรามุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรม ใน 5 กลุ่มหลัก เพื่อตอบโจทย์ นโยบาย “Strength from within” ซึ่งเป็นนโยบายที่ตอบโจทย์เรื่องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน “Competitiveness” แต่การดำเนินนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเอกชนไทยอย่างเดียวไม่พอ เราต้องดำเนินนโยบายที่ตอบโจทย์ ความเชื่อมโยงกับโลก หรือ “Connectivity” ไปพร้อม ๆ กันด้วย

ในทางธุรกิจ เมื่อตลาดในประเทศอิ่มตัว หรือมีการแข่งขันสูง เราก็ต้องออกไปแข่งนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งเมื่อเราแข็งแกร่งแล้ว เราก็ต้องออกไปลุยตลาดต่างประเทศ เพราะหากเราอยู่เฉย ๆ นักธุรกิจต่างชาติก็ต้องเข้ามาในประเทศเราอยู่ดี ดังนั้น การแข่งขันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการค้าและการลงทุน (Trade & Investment) ก็แยกจากกันไม่ได้เช่นกัน

จากสถิติ Outward Investment ของไทยพบว่า ปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอาเซียน (เน้นกลุ่ม CLMV) คิดเป็น 20 %

และจากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่า การลงทุนในต่างประเทศ ของกลุ่ม “SET 100” มีตัวเลขสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ผลตอบแทนจากการลงทุนก็จะไหลกลับเข้ามาในไทย

ในการค้าระหว่างประเทศ “ความเชื่อมโยงระหว่างกัน” หรือ Connectivity มีความสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็น Free Flow ของ Goods , Services, Capital, Talents หรือ Information โดยเราต้องมุ่งสร้าง Brand ระดับโลก เพื่อให้บริษัทไทยเป็น “Multinational Firm” ให้ได้

ในวันที่โลกเปลี่ยน ...

จาก Nations เป็น Nodes
จาก Borders เป็น Bridge
จาก United Nations เป็น United Cities

หากบริษัทของคุณยังเป็นบริษัทขนาดกลาง
หากบริษัทของคุณยังไม่คุ้นกับการลงทุนในต่างประเทศ

ผมแนะนำให้เริ่มจากประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะ “CLMV” เพราะตลาดมีความใกล้เคียงกับไทย และเราก็มีความใกล้ชิดกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพและวัฒนธรรม

ภายใน ASEAN Community เราอาจมองเป็นภาพกลุ่มประเทศย่อยลงมา อาทิ หากมองจาก Supply-Side จะพบว่า

- ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็น Manufacturing Based
- ประเทศบรูไน กัมพูชา เมียนมาร์ และลาวเป็น Resourcing based
- สิงคโปร์เป็น Service based เป็นต้น

แต่หากมองจาก Demand-Side เราจะสามารถจำแนก ASEAN ออกเป็น

- ประเทศที่มีรายได้สูง เช่น ประเทศบรูไน ประเทศสิงคโปร์ (แน่นอนว่ารูปแบบการตลาดต่างกัน)
- ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เช่น ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
- ประเทศที่ยังมีรายได้ค่อนข้างตำ่แต่มีการเติบโตที่สูง ได้แก่ CLMV

วันนี้ BOI ร่วมกับบริษัท Bolliger & Company ได้ช่วยผู้ประกอบการในการเริ่มก้าวไปสู่เวทีอาเซียน เพื่อเป็นสนามสอบ ก่อนไปสนามอื่นโดยการ Deepening ASEAN เตรียมข้อมูลเชิงลึกให้ผู้ประกอบการ ทำให้การลงทุนในต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

นอกจากนี้ เรายังมีความพร้อมใน 3 ข้อ คือ
1. นโยบายรัฐบาลมีความชัดเจน ว่าเราจะเติบโตโดยใช้ ASEAN และ CLMVT เป็นสนามทดลองการลงทุนในระดับ Regional เพื่อให้เรามีความแกร่งกล้าในระดับโลกในโอกาสต่อไป

2. ภาคปฏิบัติของภาครัฐ จากเดิม BOI เน้นด้าน Inward Investment แต่ในวันนี้ ก็ดูแลเรื่อง Outward Investment ด้วย ซึ่งแม้ว่า Outward Investment ปัจจุบันจะยังไม่มีสิทธิประโยชน์ให้ แต่ภาครัฐก็ให้ความช่วยเหลือในด้านข้อมูลเชิงลึก และการจัดคณะผู้แทนการค้าไปหา partner ในต่างประเทศ
- ในปี 60 BOI มีสำนักงานที่กรุงย่างกุ้ง และกรุงฮานอย
- ในปี 61จะตั้งสำนักงานที่กรุงจาการ์ตาเพิ่มเติม

3. ความเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ความร่วมมือผ่าน "คณะทำงานสานพลังประชารัฐ" กลุ่ม D4 การส่งเสริมส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ และกลุ่ม D2 การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจเริ่มต้น (SMEs & Start-up) รวมทั้งการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐในต่างประเทศ คือ BOI และกระทรวงพาณิชย์ ทำให้ภาคเอกชนลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ เพราะมีการสนับสนุนจากภาครัฐ

ศูนย์ประสานราชการใสสะอาดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
555 ถนนวิภาวดี-รังสิต จตุจักร กรุงเทพฯ10900

โทรศัพท์ : 0 2537 8111 ต่อ 1080, 1206, 1085
โทรสาร : 0 2537 8129
E-mail : person@boi.go.th

หรือกรอกข้อร้องเรียนผ่านทาง
Website : http://www.boi.go.th/index.php?page=complain

ที่มา : http://www.boi.go.th/

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com