THAILAND 4.0

Last updated: 25 ต.ค. 2559  |  1993 จำนวนผู้เข้าชม  | 

THAILAND 4.0

iso-consult-thailand-spring-up-4.0

การผลักดันให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจเหมือนในอดีต ทั้งตัวเลขส่งออก และการเติบโตของจีดีพีได้นั้น จะต้องทำการกระตุ้นภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการที่ถือเป็นฐานรากที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ในการกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมนั้น ภาครัฐมีแนวทางการสานต่ออุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรือตลอดทั้ง Supply Chain เริ่มตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมจากหน่วยงานวิจัย หรือสถาบันการศึกษา

การผลักดันให้เกิดผู้ประกอบการใหม่หรือ Startup Business การเสริมศักยภาพและติดอาวุธให้ผู้ประกอบการ SME ที่เรียกว่า Spring Up Business และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันให้ธุรกิจสามารถก้าวสู่เวทีระดับโลก หรือ Step Up Business ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ข้อมูลว่า สถิติจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมี SME อยู่ประมาณ 2.74 ล้านรายคิดเป็น 99.7% ของวิสาหกิจรวมทั้งประเทศ

แต่ที่น่าสนใจก็คือ GDP ต่อ แรงงาน ของ SME ไทย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5 แสนบาท/คน/ปี ในขณะที่ผลิตภาพของวิสาหกิจขนาดใหญ่ อยู่ที่ 2.2 ล้านบาท/คน/ปี เมื่อเปรียบเทียบกันเองในประเทศวิสาหกิจขนาดใหญ่ มีผลิตภาพสูงกว่า SME ถึง 4 เท่า ดังนั้น SME จึงมีโอกาสในการเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกมาก

ปัจจุบัน การผลักดัน SME ระดับกลางนั้น มีการดำเนินการอยู่ในหลายรูปแบบ โดยในส่วนของธนาคารพาณิชย์ ได้มีการสนับสนุนและช่วยเหลือ SME ในกลุ่มนี้ ทั้งในด้านของบริการสินเชื่อให้กู้ยืม และความช่วยเหลือให้คำปรึกษาในด้านอื่นๆ รวมทั้งการฝึกอบรม และสัมมนาทางธุรกิจต่างๆ ที่น่าสนใจที่มีให้ SME ได้เลือกใช้บริการจากธนาคารขนาดใหญ่ รวมทั้งธนาคารไทยพาณิชย์เองก็ยังมีสินเชื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อ SME ไทยด้วยเช่นกัน

Spring Up SME 4.0 เป็นโมเดลในการพัฒนาผู้ประกอบการ SME ผ่านการสนับสนุนให้เป็นส่วนหนึ่งของคลัสเตอร์ ในอุตสาหกรรมใหม่เพื่อการแข่งขันกับต่างชาติได้อย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐเองก็มีมาตรฐานหลายอย่างที่สนับสนุน SME อาทิ

1. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SMEs วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท
2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) วงเงินค้ำประกัน 100,000 ล้านบาท
3. มาตรการร่วมลงทุนใน Start-up SMEs ที่มีศักยภาพสูง โดยจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนรวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท
4. มาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SME
5. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-up)

ส่วน SME ที่ก้าวสู่ Stage ของการ Spring Up นั้น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ผลักดันโครงการสนับสนุน SME โดยจัดหลักสูตรการอบรมระดับสูง ที่รวบรวมผู้บริหารภาคเอกชนชั้นนำของประเทศ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ และอีกมากมาย ให้แก่ SME โดยเบื้องต้นได้คัดเลือกผู้ประกอบการกว่า 100 รายเข้าร่วมโครงการ และมีแผนที่จะจัดการอบรมปีละ 2 ครั้ง โดยหลักสูตรที่อบรมมี 4 หมวด ได้แก่
หลักสูตรนโยบายของรัฐกับการส่งเสริม SME
หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลง
หลักสูตรการเสริมสร้างประสบการณ์ผู้ประกอบการเชิงประจักษ์
หลักสูตร SME กับการต่อยอดมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรม
นอกจากการอบรมแล้ว ยังมีการผลักดันให้ผู้ประกอบที่ประสบความสำเร็จ เป็นพี่เลี้ยงให้กับ SME ในกลุ่ม Spring Up เพื่อให้สามารถพัฒนาธุรกิจไปได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วอีกด้วย

Spring Up 4.0 จึงเป็นแนวทางในการส่งเสริมผลักดัน SME อีกทางหนึ่ง เพื่อต่อยอด SME ที่ประสบความสำเร็จให้เติบโตเป็นกิจการที่มีความแข็งแกร่ง สามารถขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และแข่งขันกับธุรกิจในระดับโลกได้

iso-consult-spring-up-40-thailand

อุตสาหกรรม 4.0 ดัน SME ไทย สู่ความเป็นผู้นำธุรกิจ

แนวคิดของการก้าวออกจากกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ด้วยการสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด ประเทศไทย 4.0 และอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งการจะก้าวไปถึงจุดเปลี่ยนได้นั้น ประเทศไทยจำเป็นจะต้องสร้างธุรกิจ และอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยี

ครั้งนี้ SCB SME จึงนำเสนอแนวคิดของภาครัฐในการผลักดันประเทศสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการผลักดันศักยภาพของประเทศไทย สู่แนว 10 รูปแบบอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งต้นจากอุตสาหกรรมเดิม 5 อุตสาหกรรม ได้แก่
1. อุตสาหกรรมยานยนต์
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
5. อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

อุตสาหกรรมใหม่ 5 อุตสาหกรรม ได้แก่
1. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
2. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
3. อุตสาหกรรมขนส่ง และการบิน
4. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิง และเคมีชีวภาพ
5. อุตสาหกรรมดิจิตอล

โดยภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม และผลักดันอุตสาหกรรมดังกล่าว ผ่านแนวคิดของการสร้างคลัสเตอร์ในแต่ละอุตสาหกรรม โดยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และ เอสเอ็มอี (SME) ในอุตสาหกรรมเดียวกันในลักษณะคลัสเตอร์ เกื้อหนุน และผลักดันต่อไป

ที่มา : https://scbsme.scb.co.th

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com