10 TIPS การใช้ GOOGLE CALENDAR

Last updated: 20 ธ.ค. 2559  |  1392 จำนวนผู้เข้าชม  | 

10 TIPS การใช้ GOOGLE CALENDAR

iso consultant google-calendar-tasks

เคล็ดลับ : 10 TIPS การใช้ GOOGLE CALENDAR

1. คีย์ลัด
การใช้คีย์ลัดช่วยให้เข้าถึงฟังก์ชันต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น ตัวอย่าง คีย์ลัดที่ผู้เขียนใช้บ่อย เช่น

“S” เข้าไปที่หน้า Calendar Setting

“D“,”W“, “M” แสดงหน้าปฏิทินแบบ วัน, สัปดาห์, เดือน

“/” วางตำแหน่งเคอร์เซอร์ไปที่ กล่องค้นหา

“Q” แสดงกล่อง Quick Add

โดยผู้ใช้ต้องเข้าไปกำหนดค่าที่ Calendar settings -> General -> Enable keyboard shortcuts เลือกค่า Yes

ถ้าต้องการดูรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับคีย์ลัดคลิกที่ Learn more

2. เพิ่ม Time Zone
หน้าปฏิทินสามารถเลือกแสดงได้หลาย Time Zone โดยผู้ใช้สามารถเข้าไปเพิ่ม Time Zone ได้ที่ Calendar settings -> General ->Your current time zone คลิกที่ “Show an additional time zone” แล้วไป Check Box ที่ “Display all time zones”

3. แสดงปฏิทิน Thai Holidays
Google Calendar มีปฏิทินวันหยุดสำหรับนานาชาติให้เลือกใช้ ของประเทศไทยก็มีครับ ถ้าสนใจจะแสดงปฏิทินวันหยุด เข้าไปที่ Calendar settings -> Calendars -> Browse interesting calendars -> Holidays -> Thai Holidays คลิกที่ Subscribe

4. ปรับการแสดงจำนวนวันหน้าปฏิทิน
หน้าปฏิทินไม่จำเป็นต้องแสดงเป็น สัปดาห์ เดือน ปี ก็ได้ คุณสามารถกำหนดให้แสดงเป็นจำนวนวัน (2-7 days) หรือจำนวนสัปดาห์ (2-4 weeks) ได้ตามต้องการ โดยเข้าไปกำหนดค่าที่

Calendar settings -> General -> Default view และ Custom view

5. แสดง Tasks บนปฏิทิน
โดยค่า Default ปฏิทินจะไม่แสดง Tasks แต่ถ้าคุณมีความต้องการที่จะแสดง Tasks บนหน้าปฏิทินด้วย สามารถทำได้โดยการคลิกที่ My Calendar ทางด้านซ้ายของหน้า Calendar แล้วเลือก Tasks … รายการ Tasks ก็จะไปปรากฏในหน้าปฏิทิน

6. แบ่งปันปฏิทิน
คุณสามารถแบ่งปันปฏิทินของคุณไปยังบุคคลอื่นได้ตามต้องการ โดยการป้อนอีเมลล์ และสามารถกำหนดสิทธิให้กับผู้ที่ได้รับการแบ่งปันปฏิทินที่เห็นว่าเหมาะสมได้ด้วย

การกำหนดสิทธิมีให้เลือกดังนี้ “Make changes AND manage sharing” , “Make changes to events” , “See all event details” และ “See only free/busy (hide details)”

7. รับแจ้งกำหนดการทาง Email
ต้องการให้ Google Calendar ส่งอีเมลล์มาเตือนกำหนดการประจำวันทุกเช้า จะได้ไม่หลงลืมนัดสำคัญประจำวัน ทำได้โดยเข้าไปที่ Calendar settings -> Calendars คลิกที่ Notification หลังรายการปฏิทินที่สนใจจะให้เตือน (อยู่ประมาณกลาง ๆ หน้า) คลิกที่กล่อง Email หลัง Daily Agenda

8. สร้างกำหนดการผ่าน Quick Add
การสร้างกำหนดการด้วย Quick Add ช่วยให้การสร้างกำหนดสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามจะให้กำหนดการที่ไปปรากฏบนปฏิทินมีความถูกต้องชัดเจน คุณควรยึดหลักลำดับความ ดังนี้ “what, with who, where และ when” เช่น Seminar with K.POP at Satorn Road on March 6, 2012 8:30 a.m. – 12:30 p.m. เป็นต้น ในกรณีเป็นกำหนดการแบบทั้งวันก็ไม่ต้องกำหนดเวลา

9. ค้นหาด้วย Calendar Search
Google Calendar เตรียมเครื่องมือการค้นหาที่มีประสิทธิภาพไว้ให้ โดยเตรียมคำกรองที่ช่วยให้การค้นหาใช้คำที่เฉพาะเจาะจง มีโอกาสเจอกำหนดการในปฏิทินได้มากขึ้น ได้แก่ What , Who , Where , Doesn’t Have , Search (which calendar) และ Date from – to –

คุณสามารถใช้งานฟังก์ชันนี้ได้โดยการคลิก show search options อยู่หลังกล่องค้นหาด้านบนของปฏิทิน

10. ดูปฏิทินแบบ Offline
ไม่ได้ต่ออินเทอร์เนต ก็สามารถดูปฏิทินได้ครับ โดยการติดตั้ง Chrome App ที่ชื่อว่า Google Calendar จาก Chrome Web Store เป็นแอพที่พัฒนาโดย Google เองเลยครับ

เมื่อเปิดแอพขึ้นมาหน้าตาไม่แตกต่างจาก Google Calendar เวอร์ชั่นเดสก์ทอปที่คุ้นเคย ใช้งานง่ายเหมือนกัน เพียงแต่มีคุณสมบัติที่ยอมให้คุณดูปฏิทิน แม้ในขณะที่ไม่ได้ต่ออินเทอร์เนต

ที่มา : https://arthitonline.me

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

GooGreen START UP

16 ก.ย. 2561

(MOBILE TECHNOLOGY

5 ก.ย. 2561

Call to Action

16 ก.ย. 2561

Powered by MakeWebEasy.com